Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74084
Title: การศึกษาผลิตภัณฑ์ แปรรูปข้าวเปลือก : ศึกษาเฉพาะกรณีอุตสาหกรรมการผลิตข้าวเม่าในหมู่บ้านดอนกลาง ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: A study of padpy processing product : a case study of Kao-Mao cottage industry in Don Klang villaged, Tambol Phai-Kwang, Amphoe maung, Changwat Suphan Buri
Authors: รุจี พงษ์เพ็ง
Advisors: เทียนฉาย กีระนันทน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข้าว -- แง่เศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมในครอบครัว
หมู่บ้านดอนกลาง (สุพรรณบุรี) -- ภาวะเศรษฐกิจ
Rice -- Economic aspects
Cottage industries
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชนบทของประเทศไทย ปัญหาสำคัญที่สุดที่รัฐบาลมุ่งแก้ไขคือ การยกระดับรายได้และการกระจายรายได้ไปสู่ชนบท การผลิตสินค้าให้เป็นอุตสาหกรรมในครอบครัวจึงเป็นเป้าหมายที่ได้รับการสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมครัวเรือนที่มีการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์ อุตสาหกรรมแปรรูปข่าวเปลือกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตข้าวเม่ามีลักษณะที่สมควรได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมหลายประการ กล่าวคือ เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต ได้แก่ ข้าวเปลือกชนิดต่าง ๆ เป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของสินค้าและก่อให้เกิดรายได้ครอบครัวที่ทำการผลิต การวิจัยในเรื่องอุตสาหกรรมผลิตข้าวเม่านี้ จึงได้มุ่งเน้นที่จะศึกษาให้ทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของการผลิตข้าวเม่า กรรมวิธีการผลิต ต้นทุนการผลิต การตลาด และเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องได้สนใจอุตสาหกรรมในครอบครัวประเภทนี้ยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางให้มีลู่ทางในการสนับสนุนส่งเสริมและแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมในครอบครัวและปัญหาในชนบทต่อไป ผลของการวิจัย พบว่า อุตสาหกรรมผลิตข้าวเม่าเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งให้ผลตอบแทนแก่ผู้ผลิตอย่างมาก ช่วยลดการว่างงานแอบแฝงในชนบท ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการจ้างงานในอุตสาหกรรมนั้น สามารถลดต้นทุนการผลิตได้โดยการปรับปรุง และเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีการผลิตให้ทันสมัย และการตลาดข้าวเม่าก่อให้เกิดช่องทางการตลาดที่ให้ผลประโยชน์แก่ผู้มีส่วนร่วมปลายฝ่าย โดยเฉพาะช่วยให้ชาวนาผู้ผลิตข้าวเปลือกมีรายได้สูงขึ้นและช่วยยกระดับราคาข้าวเปลือกในบางท้องที่ให้ราคาสูงขึ้น
Other Abstract: One of most important problems of the country nowadays is the widespread poverty particularly among poor rural villagers. The government, in the previous and current National Economic and Social Development Plan, proposes that promotion of cottage industry may be a possible strategy to achieve and solve the problem. In particular, especially the one which varioustypes of cottage industry will encourage the use of domestic raw materials. Kao-Mao industry is the type of cottage industry of interest in the study. Rice is the most important ingredient in Kao-Mao industry in which various kinds of rice can be used. Making use of rice in this case, for instance, would certainly add some marginal values to our domestic product and, thus, increases the rural villagers income. This study attempts to investigate in details of the process of making Kao-Mao, historically and currently. Besides, its productive technology, cost structure and marketing possibility are also examined. It is hoped that the results of this study would provide some guidelines for future promotion of this type of industry. The outcomes of our empirical investigation show that villagers earn a sufficient amount from Kao-Mao industry. Particularly in Supanburi, a place where Kao-Mao industry still exists. In addition, the industry helps easing off the problem of underemployment and encouraging further linkage industry and employment. However, the cost of producing Kao-Mao could be reduced somewhat if productive technique is adjusted and new technology is introduced. Marketing of Kao-Mao itself is found to be helpful and useful to many people in various aspects. To farmers, their sales of rice re larger. And to rice-growing villages, their local price of rice is also lifted.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาาลัย,2529
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74084
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1986.62
ISBN: 9745662747
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1986.62
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rugee_po_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ1.92 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_ch1_p.pdfบทที่ 11.77 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_ch2_p.pdfบทที่ 25.8 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_ch3_p.pdfบทที่ 38.56 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_ch4_p.pdfบทที่ 42.78 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_ch5_p.pdfบทที่ 51.85 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_ch6_p.pdfบทที่ 62.4 MBAdobe PDFView/Open
Rugee_po_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.