Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74092
Title: การบำบัดน้ำเสียโดยวิธีทางเคมีในโรงงานชุบโลหะ ด้วยไฟฟ้าขนาดกลางและเล็ก
Other Titles: Chemical treatment of wastewater in small and medium-sized electroplating factory
Authors: สาโรช บุญยกิจสมบัติ
Advisors: เพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: อุตสาหกรรมการชุบโลหะ -- การกำจัดของเสีย
น้ำเสีย -- การบำบัด
Electroplating industry -- Waste disposal
Sewage -- Purification
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางในการบำบัดน้ำเสียโรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ ครอบคลุมการชุบโครเมียม การชุบทองแดง การชุบนิเกิล และการชุบสังกะสี และน้ำเสียจริงจากโรงงานเป็นกรณีตัวอย่าง น้ำเสียจากโรงงานชุบโลหะจำแนกออกเป็น 4 ประเภทคือ น้ำเสียที่เป็นด่าง น้ำเสียที่เป็นกรด น้ำเสียที่เป็นพิษ และน้ำเสียรวม ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการบำบัดน้ำเสียที่เป็นด่างด้วยน้ำเสียที่เป็นกรดกำจัดไซยาไนด์และโลหะหนักได้แก่โครเมียม ทองแดง นิเกิล และสังกะสี เปรียบเทียบการใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ และเฟอร์รัสซัลเฟต ในการรีดิวซ์โครเมียมประจุบวกหกให้เป็นโครเมียมประจุบวกสามเปรียบเทียบการใช้ปูนขาวและโซดาไฟในการกำจัดโลหะหนัก เปรียบเทียบการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์และแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ ในการออกซิไดซ์ไซยาไนด์ให้เป็นไซยาเนต พบว่าการบำบัดน้ำเสียที่เป็นด่างด้วยน้ำเสียที่เป็นกรดสามารถลดปริมาณน้ำเสียให้เหลือเพียงร้อยละ 60.3 ของน้ำเสียรวมทั้งหมด การกำจัดโลหะหนักโดยการตกตะกอนทางเคมีจำเป็นต้องมีการกรองเพื่อให้คุณภาพน้ำทิ้งได้มาตรฐาน ยกเว้นกรณีที่มีสังกะสีเพียงอย่างเดียว การใช้เฟอร์รัสซัลเฟตก่อให้เกิดปริมาตรและความเข้มข้นตะกอนมากกว่าการใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์ การใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์และแคลเซียมไฮโปคลอไรท์ปริมาณ 1.25 เท่า สามารถกำจัดไซยาไนด์ได้อย่างสมบูรณ์ ค่าพีเอชที่เหมาะสมในการกำจัดโลหะหนักของปูนขาวและโซดาไฟใกล้เคียงกัน การกำจัดโครเมียมค่าพีเอช อยู่ในช่วง 9-11 การกำจัดทองแดงค่าพีเอชอยู่ในช่วง 7.5-11 กำจัดนิเกิลค่าพีเอชอยู่ในช่วง 10.5-11 กำจัดสังกะสีค่าพีเอชอยู่ในช่วง 9.5-11กำจัดทองแดงนิเกิลและสังกะสีค่าพีเอชอยู่ในช่วง 9.5-11 การกำจัดโลหะหนักปนกับไซยาไนด์ มีเพียงกรณี เดียวที่สามารถบำบัดได้คือ สังกะสีปนกับไซยาไนต์โดยมีค่าพีเอชในช่วง 8-10.5 เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายในการบำบัดพบว่า การใช้แคลเซียมไฮโปคลอไรท์เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการใช้โซเดียมไฮโปคลอไรท์ประมาณ 50% การใช้ปูนขาวเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าเนื่องจากค่าสารเคมีและค่าบำบัดตะกอนถูกกว่าเมื่อเทียบกับโซดาไฟ การใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟท์เสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้เฟอร์รัสซัลเฟตในทำนองเดียวกับการใช้ปูนขาว และจากกรณีตัวอย่างการบำบัดน้ำเสียที่มีสังกะสีและไซยาไนด์ การใช้บริการศูนย์บริการกำจัดกากอุตสาหกรรมแสมดำเสียค่าใช้จ่าย 104 บาทต่อลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าสารเคมีและค่าบำบัดตะกอนของการบำบัดน้ำเสียในโรงงานต่ำสุด 371 บาทต่อลูกบาศก์เมตร และถ้าใช้น้ำยาชุบแบบไม่มีไซยาไนต์จะเสียค่าใช้จ่าย 197 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
Other Abstract: This study investigated treatment method of wastewater in electroplating factories. The experiments included synthetic wastewater from chromium plating, copper plating, nickel plating and zinc plating, as well as real wastewater as a case study. Wastewater from electroplating factory can be classified into 4 types, namely, alkaline wastewater, acidic wastewater, toxic wastewater and combined wastewater. The study comprises of the following tasks: neutralizing alkaline wastewater by acidic wastewater, removal of cyanide and heavy metals including chromium, copper, nickel and zinc, comparison of sodium metabisulfite and ferrous sulfate in reduction of hexavalent chromium to trivalent chromium, comparison of lime and soda ash in heavy metals removal and comparison of sodium hypochlorite and calcium hypochlorite in oxidation of cyanide to cyanate. It was found that neutralization of alkaline wastewater by acidic wastewater can reduce total volume of wastewater to 60.3% of original volume. Chemical precipitation of heavy metals must follows with filtration to achieve effluent standard quality unless it contains only zinc. Ferrous sulfate produced greater volume and higher concentration of sludge than sodium metabisulfite. Use of sodium hypochlorite and calcium hypochlorite in proportion of 1.25 times can remove cyanide completely. The suitable pH for heavy metals are similar for lime and soda ash. The suitable pH for removal of chromium are 9-11, copper 7.5-11, nickel 10.5-11, zinc 9.5-11 and combined copper, nickel and zinc 9.5-11. To remove combined heavy metals and cyanide, only combined zinc and cyanide can be removed at pH 8-10.5. Comparison of treatment cost showed that the use of calcium hypochlorite is cheaper than sodium hypochlorite by 50%. It is cheaper to use lime than soda ash since the chemical is cheaper and cost of sludge treatment is less. The use of sodium metabisulfite is cheaper then ferrous sulfate. The treatment service charge at the center for Industrial Waste Treatment at Samae Dam is 104 baht/cubic meter. For comparison, chemical cost and sludge treatment fee amounts to 371 baht/cubic meter, while treatment cost of non-cyanide waste amounts to 197 baht/cubic meter.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74092
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saroch_bo_front_p.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_ch1_p.pdf714.91 kBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_ch2_p.pdf630.69 kBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_ch3_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_ch4_p.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_ch5_p.pdf7.18 MBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_ch6_p.pdf890.86 kBAdobe PDFView/Open
Saroch_bo_back_p.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.