Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74501
Title: โครงสร้าง พฤติกรรม และประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิค ของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในประเทศไทย
Other Titles: The structure conduct and technical efficiency of tapioca starch industry in Thailand
Authors: ปรีดา จำปี
Advisors: สามารถ เจียสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Samart.C@chula.ac.th
Subjects: โครงสร้างตลาด
อุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
การควบคุมกระบวนการผลิต
Process control
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงลักษณะองค์กรอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ในประเทศไทย โดยทำการศึกษาในด้านโครงสร้าง พฤติกรรม และประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคของอุตสาหกรรม ซึ่งในการศึกษาประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคนี้ได้ใช้สมการการผลิตแบบคอบดักลาส เพื่อที่จะหาสมการขอบเขตการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้วยวิธีลิเนียร์โปรแกรมมิ่ง โดยใช้ปัจจัยทุน แรงงาน วัตถุดิบ และค่าใช้จ่าย ในด้านพลังงานเป็นปัจจัยในการผลิต การศึกษาในที่นี้ได้ใช้ข้อมูลจากหน่วยผลิตจำนวน 21 ราย โดยใช้ข้อมูลแนบ Cross-Section ในปีพ.ศ.2539 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบด่าดัชนีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยผลิตในอุตสาหกรรม จากผลการศึกษาพบว่าอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเป็นอุตสาหกรรมที่มีด่าการกระจุกตัวที่ต่ำและได้ลดลงในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา และนอกจากนี้ยังพบว่าได้มีความแตกต่างกันในตัวผลิตภัณฑ์ (เช่น ค่าPh อัตราส่วนเถ้า ค่าความเหนียว หรือความขาวเป็นต้น) ในอุตสาหกรรมนี้จากระบบการผลิตที่ต่างกันในแต่ละหน่วยผลิต ทำให้ สามารถกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมนี้มีลักษณะโครงสร้างตลาดเป็นกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดแบบผู้ขายมากราย ทางด้านพฤติกรรมพบว่าการกำหนดราคาจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังนั้นจะกำหนดตามราคาวัตถุดิบ (หัวมันสด) ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่อันทำให้ต้นทุนการผลิตในแต่ละโรงงานมีความแตกต่างกัน และประกอบกับการที่ในอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันในตัวผลิตภัณฑ์ อันมีผลทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ต่างกันนั้น จึงทำให้ราคาจำหน่ายแป้งมันสำปะหลังของแต่ละหน่วยผลิตต่างกัน (หากคุณภาพใกล้เคียงกันราคาจะ ต่างกันสูงสุดไม่เกิน 200 บาท/ตัน และกรณีที่คุณภาพต่างกันราคาจะต่างกันไม่เกิน 700 บาท/ตัน) ด้านประสิทธิภาพการผลิตทางเทคนิคของอุตสาหกรรมทบว่า เนื่องจากการที่ในแต่ละหน่วยผลิตในอุตสาหกรรมนี้มีความแตกต่างกันจึง เป็นเหตุให้เส้นขอบเขตการผลิตน่าที่จะมีความแตกต่างกัน ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้แบ่งหน่วยผลิตออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกแบ่งตามขนาดของหน่วยผลิต และกลุ่มสองแบ่งตามลักษณะลำดับการแยกแป้งของเครื่องจักร โดยใช้วิธี T-test ในการทดสอบ ซึ่งผลการศึกษาที่ได้คือหน่วยผลิตในกลุ่มที่หนึ่งไม่มีความแตกต่างกัน (ด้วยความเชื่อมั่น 95%) ในเส้นขอบเขตการผลิต จึงไม่มีความจำเป็นในการแยกผลการศึกษา ในขณะที่หน่วยผลิตในกลุ่มที่สองนั้นมีความแตกต่างกันในเส้นขอบเขตการผลิต (ด้วยความเชื่อมั่น 95%) ฉนั้นจึงได้มีการแยกผลการศึกษาออก ซึ่งผลการศึกษาที่ได้คือ ทั้งในหน่วยผลิตที่มีเครื่องแยก 2 ตัว คือเครื่อง Separator และ Decanter และหน่วยผลิตที่มีเครื่องแยกเพียง Decanter จะเป็นแบบการผลิตที่อยู่ในช่วงผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง (decreasing Return to Scale) และมีด่าดัชนี ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ในหน่วยผลิฅที่มีเครื่องแยกสองระดับนั้นจะมีค่าความยืดหยุ่นที่มากกว่า (ค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.85) ในหน่วยผลิตที่มีเครื่องแยกเพียงระดับเดียว (ค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.75) นั่นคือในระยะยาวแล้ว โรงงานในกลุ่มที่มีเครื่องแยกสองระดับจะมีความสามารถในการขยายปริมาณผลผลิตได้ดีกว่าโรงงานในกลุ่มที่มีเครื่องแยกเพียงระดับเดียว
Other Abstract: The objective of the thesis is to analyze industrial organization (I.O) of tapioca starch industry in Thailand by study market structure 1 market conduct and technical efficiency of industry 1 which has apply cobb-douglas production function supported by capital , labour , raw material used and factory overheads factors to evaluate the production frontier by linear programming method. The scope of study compiled the data from 21 manufactures with data range in 1996. The result of the study found out that the tapioca starch industry currently held the low concentration and decline in past two decades. And it also has product differentiate (like ph value Ash Content etc.) in this industry which is implied that the industry has the structure tendency to be monopolistic compettitive market. In market cunduct , tapioca starch price are determinded by cost of raw material (cassava root) which is different in each area and because of the differentiated in product , so starch price are different in each plant (not more than 200 bath/ton for same quality starch and 700 bath/ton for different quality) เท technical effiency , due to difference in production efficiency of each 21 sample plants , it becomes necessery to divided them into two groups such as group1 which compare small size and medium size plants and group2 which compare manufactures with diffirent production processing technology. Result from the T-statatistic show that there is no different in production fronteir (with 95% significant) between small and medium size plants where as, there is a different in production fronteir between plants using different production processing technology. Futhur study done to understand the difference show that efficiency between plants using different production processing technology is almost the same but plant using separator machine with decanter machine in production process has larger decreasing elasticity (with elasticity coefficient = 0.85) return to scale than the plants using only separator (with elasticity coefficient = 0.75). It implies that plant with higher elasticity will have more efficiency in long run.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74501
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.365
ISBN: 9746392573
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.365
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preeda_ch_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ953.56 kBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_ch1_p.pdfบทที่ 11.1 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.98 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_ch3_p.pdfบทที่ 33.09 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.94 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.16 MBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_ch6_p.pdfบทที่ 6905.36 kBAdobe PDFView/Open
Preeda_ch_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.