Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74657
Title: | ภาระการพิสูจน์ในมูลหนี้สัญญา |
Other Titles: | Burden of proof : contractual aspects |
Authors: | สมนึก ชัยเดชสุริยะ |
Advisors: | มุรธา วัฒนะชีวะกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การพิสูจน์หลักฐาน พยานหลักฐาน Evidence (Law) Evidence |
Issue Date: | 2532 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สัญญาเกิดจากการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไป ก่อใหเกิดสิทธิหนาที่ผูกพันกันอันเป็นการก่อหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติผิดสัญญา ย่อมก่อให้เกิดอำนาจฟ้องแก่คู่สัญญาที่ได้รับความเสียหาย คดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลนั้น ศาลจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยพิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การซึ่งเป็นคำคู่ความ โดยประเด็นข้อพิพาทที่ศาลจะต้องวินิจฉัยมีอยู่สองอย่างคือ ปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมาย ปัญหาข้อเท็จจริง ได้แก่ ข้อเถียงที่เป็นมูลคดีหรือมูลเหตุที่ทำให้เกิดคดีขึ้นซึ่งคู่ความจะต้องนำสืบ ส่วนปัญหาข้อกฎหมายนั้นคู่ความไม่ต้องนำสืบ ศาลวินิจฉัยได้เอง ภาระการพิสูจน์ หมายถึง หน้าที่ที่คู่ความฝ่ายหนึ่งจะต้องนำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ต่อศาลให้เห็นจริงตามที่ตนกล่าวอ้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนพิจารณา โดยมีผลต่อการแพ้ชนะคดีของคู่ความโดยตรง กล่าวคือ ทำให้คู่ความฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์ทราบว่าจะต้องเตรียมพยานหลักฐานเข้าสืบต่อศาลอย่างไร ในการชั่งน้ำหนักพยานศาลต้องดูว่าประเด็นนั้น ๆ คู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์ นอกจากนี้ยังเป็นข้อที่ศาลนำมากำหนดในวันขี้สองสถานให้คู่ความฝ่ายใดมีหน้าที่นำสืบก่อนอีกด้วย ทั้งนี้เพราะศาลจะให้คู่ความฝ่ายที่มีภาระการพิสูจน์มีหน้าที่นำสืบก่อน โดยเหตุที่ภาระการพิสูจน์มีความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนการพิจารณาดังกล่าวข้างต้นการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดมีภาระการพิสูจน์จึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะพยาน แต่เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 84 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดภาระการพิสูจน์อยู่เพียงสองหลัก คือ "หลักผู้ใดกล่าวอ้างผู้นั้นต้องพิสูจน์ กับ "หลักข้อสันนิษฐานในกฎหมาย" เท่านั้น ซึ่งหากบังคับให้ศาลต้องใช้หลักเกณฑ์ จำกัดอยู่แต่เพียงเท่าที่กฎหมายบัญญัติไว้ ก็อาจเกิดความไม่เป็นธรรมแก่คู่ความและรูปคดีที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในคดีที่เป็นมูลหนี้สัญญา วิทยานิพนธ์นี้ได้อธิบายหลักกฎหมายและสรุป รวมทั้งข้อเสนอแนะการกำหนดภาระการพิสูจน์ของรูปแบบประเด็นขอพิพาทต่าง ๆ ในคดีที่เกี่ยวกับมูลหนี้สัญญาด้วย |
Other Abstract: | A contract is an expressed intent of two or more persons that creates legal relationship of rights and obligations such that of creditor and debtor. and if one of the party should be in breach thereof the other party shall be entitled to institute a legal action against him. In any litigation that appears before the court there are two issues to be deduced and determined, from the Statement of Claim and the Answer, by the court, namely, the issues of fact and the issues of law. The issue of fact is the arguments or the "subject matter of the case" which the parties have to prove while the issue of law will be decided by the court itself. Burden of proof means the necessity or duty of affirmatively proving a fact or facts in dispute on an issue raised between the parties to satisfy the court. The burden of proof is said to be an indicator to the outcome of the case. Usually the party who bears the burden of proof must also bears the burden of adducing evidence. In weighing the evidences to determine the case the court will determine which party bears the burden of proof and on what issues. In addition, on the day of the settlement of issues the court will also determine who has the priority of presenting his case. The court usually allows the party with the burden of proof the proceed first. Since the burden of proof is critical to civil proceeding, as herein before said, any determination of which party bears the burden of proof must. be in accordance with the law of evidence. Under the Civil Procedure Code section 84, there are only 2 rules governing the burden of proof i.e. one who pleads an existence of a fact bears the burden of proof and presumptions of law. The court cannot be bound only to these two legally imposed rules if equity is to be found, especially when such case involves delicate contractual obligations. This Thesis is aiming at explaining summarising and recommending the burden of proof in various disputes concerning contractual obligations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74657 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Somnuk_ch_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somnuk_ch_ch1_p.pdf | 869.89 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Somnuk_ch_ch2_p.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somnuk_ch_ch3_p.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somnuk_ch_ch4_p.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somnuk_ch_ch5_p.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Somnuk_ch_back_p.pdf | 732.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.