Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74813
Title: ไนเตรทก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแบบซีสเตอร์โครมาติดในโครโมโซม ของหนูเมาซ์
Other Titles: Nitrate induces sister chromatid exchange in mouse chromosome
Authors: มาลินี พงศ์เสวี
Advisors: ชินวร พรหมชัยนันท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลั
Advisor's Email: Chinvorn.P@Chula.ac.th
Subjects: การแลกเปลี่ยนซิสเตอร์โครมาติด
ไนเตรท
สารก่อมะเร็ง
ไนโตรซามีน
ดีเอ็นเอ
โครมาติด
Issue Date: 2537
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไนเตรทเป็นสารกันบูดซึ่งนิยมใส่ลงในอาหารประเภทเนื้อสัตว์เพื่อกันการเจริญเติบโตของเชื้อคลอสตรีเดียม โบทูลินัม ไนเตรทหลังจากเข้าไปในร่างกายจะเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายได้เป็นสารไนโตรซามีน ไนโตรซามีนเป็นสารก่อมะเร็ง สารก่อมะเร็งสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทีดีเอ็นเอของโครโมโซมได้ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงทำการศึกษาผลของไนเตรทต่อการเกิดการแลกเปลี่ยนดีเอ็นเอระหว่างโครมาติดของโครโมโซมเดียวกันใช้หนูเมาซ์เพศผู้น้ำหนัก 45-50 กรัม จำนวน 24 ตัว โดยแบ่งกลุ่ม การทดลองออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่กลุ่มได้รับไนเตรททางปากโดยใช้ท่อใส่กระเพาะอาหาร และกลุ่มได้รับไนเตรทด้วยวิธีฉีดเข้าช่องท้อง แต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มควบคุม, กลุ่มได้รับไนเตรทปริมาณทั้งหมด 80, 160, และ 320 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หนูแต่ละกลุ่มย่อยเมื่อได้รับไนเตรทครบ 20 วัน แล้วนำมาทำเทคนิคการแลกเปลี่ยนแบบซิสเตอร์โครมาติด และศึกษาการเกิดการแลกเปลี่ยนดีเอ็นเอระหว่างโครมาติดของโครโมโซมเดียวกันจากโครโมโซมของกระดูกหนูเมาซ์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ธรรมดา พบ ว่ากลุ่มย่อยที่ได้รับไนเตรททางปากมีค่าเฉลี่ยความถี่ของการแลกเปลี่ยนแบบซิสเตอร์โครมาติดที่เกิดขึ้นเท่ากับ 182±7.21, 187±6.00, 284±9.64, 587±18.68 ที่ และค่าเฉลี่ยการแลกเปลี่ยนแบบซิสเตอร์โครมาติดต่อ เซลล์เท่ากับ 3.64±0.14, 3.74±0.12, 5.66±0.17, 11.72±0.37 ตามลำดับ ส่วนกลุ่มย่อยที่ได้รับไนเตรทด้วยวิธีฉีดเข้าช่องท้องมีค่าเฉลี่ยความถี่ของการแลกเปลี่ยนแบบซิสเตอร์โครมาติดที่เกิดขึ้นเท่ากับ 184±2.00, 186±4.58, 226±8.89, 499±21.93 ที่และค่าเฉลี่ยการแลกเปลี่ยนแบบซิสเตอร์โครมาติดต่อเซลล์เท่ากับ 3.68±0.04, 3.71±0.08, 4.50±0.16, 9.96±0.43 ตามลำดับเมื่อเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับไนเตรทปริมาณสูง (160 และ 320 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) พบว่ากลุ่มที่ได้รับการทางปากมีการเกิดการแลกเปลี่ยนดี เอ็นเอระหว่างโครมาติดของโครโมโซมเดียวกันมากกว่าวิธีฉีดเข้าช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 จากผลการทดลองนี้อาจกล่าวได้ว่าไนเตรทก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนดีเอ็นเอระหว่างโครมาติดของโครโมโซมเดียวกันในหนูเมาซ์ทั้ง 2 กลุ่มนอกจากนี้ยังพบมีการเกิดการแลกเปลี่ยนดีเอ็นเอ ระหว่างโครมาติดของโครโมโซมเดียวกันเพิ่มมากขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณของไนเตรท
Other Abstract: Nitrate is the food preservative which added in the meat to prevent the growth of Clostridium botulinum. After nitrate is absorbed in the body, it changed to be the form of nitrosamine by metabolic activation of the body. Nitrosamine is the carcinogen. The carcinogen can change DNA in the chromosomes so the purpose of this study was to determine the effect of nitrate for inducing sister chromatid exchange (SCE). Twenty four adult male mice weighing 45-50 grams were divided into 2 groups by the difference routes of administration. The first group was treated nitrate orally by stomach tube, while the second group by intraperitoneal injection. Each group was divided into four subgroups: control, treated nitrate dose 80, 160 and 320 mg/kg.bw. After 20 days each mice subgroup was processed with sister chromatid exchange technic and observed chromosomes from mouse bone marrow under light microscope. The means SCE frequency of the oral subgroups were 182±7.21, 187±6.00, 284±9.64, 587±18.68 points and the means SCE/CELL were 3.64±0.14, 3.74±0.12, 5.66±0.17, 11.72±0.37 respectively. The means SCE frequency of the intraperitoneal injection subgroups were 184±2.00,186±4.58, 226±8.89, 499±21.93 points and the means SCE/CELL were 3.68±0.04, 3.71±0.08, 4.50±0.16, 9.96±0.43 respectively. Compairing the groups which treated higher dose of nitrate (160 and 320 mg/kg.bw.), the mean SCE formation in oral group was higher than intraperitoneal injection group with statistically significant at p<0.01 between the oral and intraperitoneal injection group. The result of this study may indicate that nitrate induces SCE in mouse chromosome of the both groups. In addition the SCE formation is increased by the raising doses of nitrate.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74813
ISSN: 9745847607
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Malinee_po_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.09 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_po_ch1_p.pdfบทที่ 1839.63 kBAdobe PDFView/Open
Malinee_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.94 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_po_ch3_p.pdfบทที่ 3864.78 kBAdobe PDFView/Open
Malinee_po_ch4_p.pdfบทที่ 42.39 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_po_ch5_p.pdfบทที่ 51.4 MBAdobe PDFView/Open
Malinee_po_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก924.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.