Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75361
Title: ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร
Authors: วิจักขณ์ เจติยานุวัตร
Advisors: พล ธีรคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การคำนวณภาษีอากร
รายงานการเงิน
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเช่าเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารการเงินที่สำคัญของกิจการ เป็นการช่วยให้กิจการผู้เช่ามีสิทธิในการเข้าถึงการใช้สินทรัพย์ซึ่งจะทำให้กิจการไม่ต้องลงทุนใช้เงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ในครั้งเดียว แต่สามารถทยอยจ่ายชำระเป็นงวดครั้งไปได้อันเป็นการลดความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อกิจการในช่วงแรกจนกันไป ซึ่งเป็นผลดีต่อการจัดสรรเงินทุนได้อย่างเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของกิจการ จากหลักเกณฑ์กฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรู้รายการค่าใช้จ่ายค่าเช่าทางภาษีตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 299/2561 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แก้ไขเพิ่มเติมมาจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528) ข้อ 3 (3.4) วรรคสอง ซึ่งวางหลักกฎหมายไว้ว่า การคำนวนรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยวิธีการทางภาษีที่ให้ทางเลือกแก่ผู้เช่าในการเลือกปฎิบัติโดยให้รับรู้รายการค่าใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่ชำระตามสัญญาหรือตามวิธีการปฏิบัติทางบัญชีที่รับรองทั่วไปที่แต่เดิมผู้เช่าต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า โดยกำหนดให้พิจารณาว่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าเงินทุน แต่ปัจจุบันผู้เช่าต้องมาปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการเดียวสำหรับผู้เช่า (Single lease accounting model) หรือก็คือให้รับรู้รายการสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า โดยต้องมีการการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายจากการคำนวณซึ่งวิธีการทางบัญชีดังกล่าวนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการทางภาษีอากรที่ค่าใช้จ่ายที่จะนำไปคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิทางภาษีนั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นจริง ประกอบกับการรับรู้ค่าใช้จ่ายตามวิธีการบัญชีนี้นั้นไม่สอดคล้องกับวิธีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายตามวิธีปฏิบัติทางภาษี ซึ่งถ้าหากผู้เช่าเลือกใช้วิธีการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าเพื่อคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีตามวิธีการบัญชีแล้วนั้นอาจจะทำให้การจัดเก็บภาษีอากรไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีและอาจก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75361
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.138
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.138
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186175134.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.