Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75666
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์-
dc.contributor.advisorเทพ หิมะทองคำ-
dc.contributor.advisorสิทธา พงษ์พิบูลย์-
dc.contributor.authorสิริกาญจน์ สันติเสวี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2021-09-21T04:33:49Z-
dc.date.available2021-09-21T04:33:49Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75666-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัลที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดและสุขสมรรถนะในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานและเพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกและไม่ฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัลที่มีผลต่อสารชีวเคมีในเลือดและสุขสมรรถนะในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน โดยมีค่าน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง 140–199 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรอยู่ในเกณฑ์ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน อายุระหว่าง 43-59 ปี จำนวน 17 คน ทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม จำนวน 9 คน ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติและกลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน ฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัล ที่ระดับปานกลาง ใช้การควบคุมจังหวะ 100-110 BPM เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ใช้เวลา 50 นาทีต่อครั้ง รวมอบอุ่นร่างกายและคลายอุ่นร่างกาย การฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัล แบ่งเป็น 4 ช่วงสัปดาห์ ได้แก่ ช่วงสัปดาห์ที่ 1-3 ใช้แรงต้านจากน้ำหนักตัว ช่วงสัปดาห์ที่ 4-6 ใช้แรงต้านจากน้ำหนักตัวและขวดทรายหนัก 335 กรัม ซึ่งใช้ท่าฝึกแบบเดียวกัน จำนวน 12 ท่าฝึก เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ช่วงสัปดาห์ที่ 7-9 ใช้แรงต้านจากน้ำหนักตัวและขวดทรายหนัก 500 กรัม และช่วงสัปดาห์ที่ 10-12 ใช้แรงต้านจากน้ำหนักตัวและขวดทรายหนัก 750 กรัม ซึ่งใช้ท่าฝึกแบบเดียวกัน จำนวน 12 ท่าฝึก เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ปฏิบัติสัปดาห์ละ 5 ครั้งๆ ละ 30 นาที ปฏิบัติ 3 รอบ ท่าละ 10 ครั้งต่อเซท พักระหว่างท่าฝึก 10-15 วินาที พักระหว่าง รอบ 60-90 วินาที ฝึกออกกำลังกายเป็นกลุ่ม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และฝึกออกกำลังกายที่บ้านด้วยตนเอง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มได้รับการทดสอบตัวแปรสารชีวเคมีในเลือด สุขสมรรถนะ และข้อมูลพื้นฐานสรีรวิทยา ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ ทดสอบความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้วิธีการทดสอบของแอลเอสดี และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้การทดสอบค่าทีที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ ภายในกลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัลมีค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 60 90 และ 120 นาที (น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง) ระดับอินซูลิน พื้นที่ใต้โค้งของกลูโคส และไตรกลีเซอไรด์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีค่าเฉลี่ยปริมาณไขมันในช่องท้องลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รวมทั้งมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและหลัง ความอดทนของกล้ามเนื้อแขน  หน้าท้องและขา ความอ่อนตัว และความอดทนของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่มหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัลมีค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 90 และ 120 นาที (น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมง) พื้นที่ใต้โค้งของกลูโคส และคอเลสเตอรอลลดลงซึ่งดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับความอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้องและขา และความอ่อนตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัลมีผลต่อสารชีวเคมีในเลือดและสุขสมรรถนะในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวานให้ดีขึ้นได้ โดยส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีความไวต่ออินซูลินดีขึ้นและกล้ามเนื้อหดตัวทำงานได้ ต่อเนื่องมีความอดทนเพิ่มขึ้น จึงเป็นการฝึกออกกำลังกายที่มีประโยชน์ในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to determine the effects of functional exercise training on blood biochemistry and health related physical fitness in prediabetic adults. The subjects were adults with prediabetes aged 43–59 years old underwent the Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) prior to the study. Seventeen participants who did not pass the OGTT were recruited for the study and they were divided into two groups (i.e. control group; 9 people with usual physical activity of daily living and functional exercise training group; 8 people). The exercise training program was 12 weeks in duration, 50 minutes per session including warm up and cool down, at moderate intensity with the heart rate of 100-110 BPM. Functional exercise training was divided into 4 periods: during week 1-3, resistance from body weight, during week 4-6 resistance from body weight and 335 grams of sand bottles (same 12 exercises for 6 weeks). During week 7-9, resistance from body weight and 500 grams of sand bottles. And during week 10-12, resistance from body weight and 750 grams of sand bottles (same 12 exercises for 6 weeks). Practiced 5 times per week for 30 minutes, performed 3 rounds, 10 reps per set, rested between exercises 10-15 seconds, rested between rounds 60-90 seconds. The subjects in the functional exercise group engaged in a prescribed exercise training in group sessions 3 times per week, and the same exercise  program 2 times per week on their own at home. Both groups were tested for blood biochemistry, health related physical fitness and basic physiological data before, after 6 weeks and after 12 weeks. The differences within group were compared using one - way ANOVA, compared the differences in pairs by using LSD test method and compared the changes after 12 weeks between groups using independent t- test. Statistical significance was set at P<0.05 level.       The results of the study showed that after the experiment for 6 weeks and 12 weeks, the  functional exercise training group showed the significant decreases of glucose tolerance test, OGTT at 60 90 and 120 minutes (2-hour plasma glucose), fasting plasma Insulin, glucose AUC and triglycerides at 0.05 level. In addition, means of visceral fat area significantly decreased at post intervention at 0.05 level. On the other hand, strength of legs and back muscles, endurance of arms, abdominal and lags muscles, flexibility and cardiorespiratory endurance statistically increased at 0.05 level. Comparing mean values of changes between groups after 12 weeks of experiment, it was found out that an average of fasting plasma glucose, and glucose tolerance test, OGTT at 90 and 120 minutes (2-hour plasma glucose), glucose AUC and cholesterol level as well as endurance of abdominal and legs muscles and flexibility in the functional exercise training group were significantly better than the control group at 0.05 level. In conclusion, the functional exercise training program improved blood biochemistry, health related physical fitness, improved insulin sensitivity, and muscular endurance in prediabetic adults.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1094-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการออกกำลังกาย-
dc.subjectเบาหวาน -- การป้องกัน-
dc.subjectExercise-
dc.subjectDiabetes -- Prevention-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการฝึกออกกำลังกายแบบฟังก์ชันนัลที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดและสุขสมรรถนะในผู้ใหญ่ที่มีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน-
dc.title.alternativeThe effects of functional exercise training on blood biochemistry and health related physical fitness in prediabetic adults-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1094-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6078608239.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.