Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75707
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด รูปแบบความผูกพัน ต้นทุนทางจิตวิทยาและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่มีประสบการณ์แยกจากบิดามารดา 
Other Titles: Relationships among stress, attachment styles, psychological capital and depression in adolescents with left-behind experiences
Authors: ฐิตาพร แก้วบุญชู
Advisors: กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ
สมบุญ จารุเกษมทวี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Subjects: ความซึมเศร้าในวัยรุ่น
ความเครียดในวัยรุ่น
วัยรุ่น -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว
Depression in adolescence
Stress in adolescence
Adolescence -- Family relationships
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ที่ความเครียด รูปแบบความผูกพัน ต้นทุนทางจิตวิทยามีกับภาวะซึมเศร้า และศึกษาความสามารถที่ปัจจัยเหล่านี้ทำนายภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่เคยมีประสบการณ์แยกจากบิดามารดา โดยเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสุ่มแบบเจาะจงจำนวน 141 คน อายุ 18-25 ปี มีประสบการณ์แยกจากบิดาและ/หรือมารดาในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 16 ปี เป็นเวลาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป และไม่อยู่ระหว่างการบำบัดรักษาทางจิตเวช กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งประกอบด้วย มาตรวัดความเครียด มาตรวัดรูปแบบความผูกพันห้ามิติ อันได้แก่ มิติความมั่นใจ มิติความไม่สบายใจเมื่อเกิดความใกล้ชิด มิติต้องการการยอมรับ มิติหมกมุ่นถึงความสัมพันธ์ และมิติความสัมพันธ์มีความสำคัญเป็นรอง มาตรวัดต้นทุนทางจิตวิทยา และมาตรวัดภาวะซึมเศร้า ข้อมูลที่ได้รับถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธีการใส่ตัวแปรอิสระเข้าพร้อมกัน ผลการศึกษาพบว่าภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) กับความเครียด รูปแบบความผูกพันด้านต่างๆ และต้นทุนทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม จากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าแม้ปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันทำนายความแปรปรวนของภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 68 (R2 = .68, p < .001) แต่มีเฉพาะความเครียดเท่านั้นที่สามารถทำนายภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: This study aimed to examine the relationships that stress, attachment styles, and psychological capital had with depression as well as the degree to which these variables could predict depression in adolescents with left-behind experiences. Participants, selected by a purposive sampling method, consisted of 141 young adults (aged 18-25) with left-behind experiences (i.e., living apart from their mothers and/or fathers for at least six months when they were younger than sixteen years of age) and were not under psychiatric treatment. Participants responded to the on-line measures of stress, five dimensions of attachment styles, psychological capital, and depressive symptoms. Pearson’s product moment correlation and multiple regression analyses were conducted. Findings suggested significant associations (p < .01) that the study variables had with depression in the directions hypothesized. When examined together, the predictor variables accounted for 68% of the variance of depression (R2 = .68, p < .001). However, when examined together, only stress could significantly predict depression in adolescents with left-behind experiences.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75707
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.660
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.660
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6177610338.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.