Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสนอง เอกสิทธิ์-
dc.contributor.advisorกวิน อัศวานันท์-
dc.contributor.advisorวิยงค์ กังวานศุภมงคล-
dc.contributor.authorอัฐพล อรุณวุฒิพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:48:22Z-
dc.date.available2021-09-21T06:48:22Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76589-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการใช้ระบบขนส่งสาธารณะพบว่ามีความเสี่ยงต่อการติดต่อโรคทางเดินระบบหายใจ การมีระบบฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพจะลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อภายในระบบขนส่งสาธารณะได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบฆ่าเชื้อในรถโดยสารสาธารณะด้วยละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพ โดยการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มจากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบรถโดยสารประจำทางสาธารณะจำนวน 20 รายเพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้วิธีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ การทำวิจัยเชิงทดลองด้วยการพ่นฆ่าเชื้อละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อในรถประจำทางสาธารณะจำนวน 20 คัน และการทำวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 406 รายเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้รถโดยสารประจำทางสาธารณะที่สะอาดและความเต็มใจในการจ่ายค่าโดยสารส่วนเพิ่ม ผลการศึกษาการวิจัยเชิงทดลองพบว่า การใช้ระยะเวลาการพ่นฆ่าเชื้อ 30 นาทีในรถทัวร์ขนาด 20 ที่นั่งสามารถฆ่าเชื้อสปอร์ได้ 6-log reduction ซึ่งเป็นประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อในระดับสูง และใช้ระยะเวลาที่ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สลายตัวต่ำกว่าระดับ 1 ppm โดยเฉลี่ย 67 นาที และผลการสำรวจแบบสอบถามพบว่าการรับรู้ประโยชน์จากการเพิ่มประสิทธิภาพฆ่าเชื้อ ด้วยการนำระบบฆ่าเชื้อด้วยละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์มาใช้ในรถขนส่งสาธารณะมีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการรถขนส่งสาธารณะ (X2=16.185, p-value <0.05) และมีความเต็มใจในการจ่ายค่าโดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.96 จากราคาค่าโดยสารปกติ ระบบฆ่าเชื้อในรถขนส่งสาธารณะด้วยละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จึงเป็นระบบฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อสูงและมีความปลอดภัย -
dc.description.abstractalternativeThis research aims to develop an effective decontamination system for public transport using aerosolized hydrogen peroxide. This study employed a mixed-methods approach. The qualitative research used in-depth interviews with 20 public bus operators to determine the factors affecting the selection of cleaning and disinfection methods. Then, experimental research was conducted using aerosolized hydrogen peroxide in 20 public buses, and the disinfection efficacy was validated. Finally, quantitative research was conducted with a survey of 406 respondents to determine the factors affecting intention to use the clean public bus and a willingness to pay a premium. The finding showed that a 30-minute aerosolized period in a 20-seater public bus could inactivate spores by a 6-log reduction. The decomposition period of hydrogen peroxide to decompose below a concentration of 1 ppm was an average of 67 minutes. The survey finding indicated that the perceived usefulness from using enhanced disinfection as aerosolized hydrogen peroxide in the public bus had an effect on the intention to use the public bus (X2=16.185, p-value <0.05) and willingness to pay a premium of 23.96% over the regular fare.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.748-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการทำลายเชื้อและสารทำลายเชื้อ-
dc.subjectยานพาหนะ -- การทำลายเชื้อ-
dc.subjectรถประจำทาง -- การทำลายเชื้อ-
dc.subjectDisinfection and disinfectants-
dc.subjectVehicles -- Disinfection-
dc.subjectBuses -- Disinfection-
dc.subject.classificationChemistry-
dc.subject.classificationEnvironmental Science-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleระบบฆ่าเชื้อในรถขนส่งสาธารณะด้วยละอองไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์-
dc.title.alternativeDisinfection system for public transport using aerosolized hydrogen peroxide-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.748-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187801520.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.