Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76629
Title: การพัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน
Other Titles: Development of an approach in applying education for liberation concepts for nonformal education
Authors: ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
ชูเกียรติ ลีสุวรรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ความเป็นอิสระของโรงเรียน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษานอกห้องเรียน
School autonomy
Non-formal education
Outdoor education
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อความเป็นไทในประเทศไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของกรณีตัวอย่างในการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นไทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน และ 3) พัฒนาแนวทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ระเบียบวิธีที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การศึกษาภาคสนาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ ประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความเป็นไท ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) แนวคิด ได้แก่ แนวคิดแบบองค์รวม หลักการความเป็นประชาธิปไตย หลักการความเป็นมนุษย์ และ หลักการมีส่วนร่วม 2) กระบวนการ ได้แก่ การวิเคราะห์ตนเอง การมองภาพรวมของกระบวนการทั้งหมด การสรุปองค์ความรู้และการสะท้อนกลับ การเชื่อมโยงความคิดและประยุกต์ใช้ และการสร้างแกนนำ 3) ผลลัพธ์ คือ ชี้นำตนเองและพึ่งตนเองได้  มีพลังอำนาจและมีความภาคภูมิใจในตนเอง และ เข้าใจตนเอง 4) สิ่งที่ผู้เรียนขาดไปคือเข้าใจวิถีทางประชาธิปไตย สำนึก หวงแหนบ้านเกิดและภูมิปัญญาท้องถิ่น รู้จักวิเคราะห์ คิดพิจารณาวินิจฉัยใคร่ครวญ และรู้เท่าทันโลกและแก้ปัญหาชีวิต และ 5) ลักษณะผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านความรู้ต่อหน้าที่ ด้านเกี่ยวกับเนื้อหา และด้านเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม 2) ปัจจัยความสำเร็จของกรณีตัวอย่างในการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นไทมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) เบื้องหลังปรัชญาและแนวคิด ได้แก่ ศักดิ์ศรีและความเป็นมนุษย์ของผู้เรียน เพื่อความเป็นไท สิทธิเสรีภาพ การรักษาอัตลักษณ์ชุมชนและกลุ่มชาติพันธุ์ 2) เงื่อนไขและบริบทในการจัดโครงการ/กิจกรรม ได้แก่ การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ เรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่งเสริมการรู้จักตนเอง เรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ร่วมกัน และ ทำเพื่อส่วนรวม 3) การเตรียมผู้เรียน ได้แก่ ตั้งคำถาม มีเป้าหมายในตนเอง หาคำตอบอย่างเป็นระบบ และปฏิบัติการไปสู่การเปลี่ยนแปลง 4) การเตรียมและสนับสนุนผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ ความรู้ต่อหน้าที่ ความรู้ในการจัดกิจกรรม และประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม 5) การประเมิน ได้แก่ วิธีการประเมินตามสภาพจริง โดยมีเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ รู้จักตัวเอง เข้าใจบริบทสังคม รู้จักตั้งคำถามและหาคำตอบ สามารถสร้างและนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการเรียนรู้ และควบคุมตนเอง 3) แนวทางการทางการประยุกต์แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นไทในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ประกอบด้วย แนวคิด/หลักการ  การวิเคราะห์สภาพปัญหาของชุมชนต่อรากเหง้าปัญหา การกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนรู้/หลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ บทบาทผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ บทบาทผู้เรียน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ การนำไปประยุกต์ใช้ และการสร้างพลังทางสังคม 
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) analyze the state of non-formal education for liberation in Thailand, 2) analyze the success factor of the case study in applying the concept of education for liberation to the non-school education and 3) Develop a guideline for applying the concept of education management for independence in non-school education management. The research methodology was the qualitative research by documentary study, multiple fields study, focus group discussion, and in-depth interview. The research instruments consisted of a data analysis form, an interview form, a focus group discussion guideline and an in-depth interview guideline. The qualitative data were analyzed and synthesized by using the content analysis. The results were as follow: 1) The state of non-school education for liberation consists of 5 areas; 1) Concept: the holistic paradigm, democratic principle, humanity principle, and participatory principle 2) process: self-analysis, getting an overview of the whole process, cognitive formation and reflection, confluence of thought and application, and developed leaders 3) the outcome: self-directed and self-reliant, empowered and self-esteem and self-understanding 4) learners characteristics lack: democratic Literacy, appreciating the hometown and local wisdom, critical reflection, literacy for change and solving life problems, and 5) Characteristics of the facilitator: functional knowledge, content knowledge, and democracy and participation;  2) The success factor of the case study in applying the concept of education for liberation to the non-formal educational management consists of 5 areas; 1) Behind the philosophy and concepts: dignity and humanity of the learner, for liberation, rights and liberties, maintaining community and ethnic identity; 2) Conditions and contexts for organizing projects/activities: a learning atmosphere, community-based learning, promoting self-awareness, self-learning, learning together, and doing for the public; 3) Preparing learners: asking questions, self-goals, systematically finding answers, and working towards change; 4) Preparing and supporting learners; functional knowledge, organizational knowledge, and democracy and participation; 5) Assessment: used authentic assessment with criteria for evaluating the results including know ourselves, understanding the social context, knowing how to set up questions and answers, ability to build and apply knowledge, transformational leader and promote learning, and self-control; 3)  An approach in applying education for liberation concepts for nonformal education management consisted of concepts/principles, problem analysis by identifying the community root cause, determination of things to learn/curriculum, organizing learning activities, the role of the facilitator, the role of the learner, the assessment of learning outcomes, application and social empowerment.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76629
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.637
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.637
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5784247627.pdf3.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.