Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76632
Title: | รูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสําหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ |
Other Titles: | A model of interconnected learning for enhancing an active citizenship in a local community development of Rajabhat undergraduate students |
Authors: | เกวลี รังษีสุทธาภรณ์ |
Advisors: | ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | สถาบันราชภัฏ สถาบันอุดมศึกษา -- บริการสังคม ชุมชนกับสถาบันอุดมศึกษา Universities and colleges -- Social service Community and college |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาท่ามกลางโลกดิจิทัล โดยเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ในการปลูกฝังและเสริมสร้างให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม รู้เท่าทันโลกของดิจิทัลหรือ พลเมืองวิวัฒน์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาการพัฒนาพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี 6 กลุ่มคือ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน 2)อาจารย์สำหรับการสัมภาษณ์เกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาพลเมืองวิวัฒน์จำนวน 9 คน 3) อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 380 คน 4) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 760 คน 5) นักศึกษากลุ่มทดลอง 40 คน และ 6) ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะพลเมืองวิวัฒน์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ประกอบด้วย 3 มิติคือ มิติความรู้ ประกอบด้วยมิติย่อย การรู้สารสนเทศ การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการรู้สังคม มิติทักษะ ประกอบด้วยมิติย่อย การเข้าถึงสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล การประเมินสารสนเทศ และการสร้างสรรค์บูรณาการ และมิติทัศนคติ ประกอบด้วยมิติย่อย จิตสำนึกด้านสังคม การเคารพสังคม และความรับผิดชอบต่อสังคม 2. กระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมในชุมชนให้กับนักศึกษาคือ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรม และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏควรมีคุณลักษณะการรู้สังคม มากที่สุด 3. คุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอยู่ในระดับมาก ทุกมิติ 4. รูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏประกอบด้วย สาระการเรียนรู้เรื่องการรู้ดิจิทัล 6 เรื่อง ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง 7 กลยุทธ์ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ 7 วิธี ใช้เวลาการเรียน 12 สัปดาห์ 36 ชั่วโมง วัดผลการเรียนรู้จากการสะท้อนคิด การบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ และการสังเกต 5. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่าค่าเฉลี่ยคุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหลังทดลองเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมิติ (ค่าเฉลี่ย 4.65) และสูงกว่าก่อนทดลอง (ค่าเฉลี่ย 4.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p=.000) จากการนำรูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงไปประยุกต์ใช้นั้นสามารถเพิ่มสมรรถนะด้านทักษะได้มากที่สุด สรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นการเรียนรู้เชิงรุกโดยเรียนรู้จากประสบการณ์ สิ่งสำคัญคือเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และชุมชน |
Other Abstract: | The transition of instructional management at higher education level, especially for Rajabhat university students from all over Thailand, has been placed on the instilling and encouraging the students to become graduates with social responsibility, digital literacy, and active citizenship. This research aimed to investigate the current conditions and problems in relation to the development of active citizenship for university students, examine the characteristics of active citizenship knowledge for Rajabhat university students, and develop instructional model of Interconnected Learning Theory for enhancing active citizenship as local community development in Rajabhat university students. The samples in this study were divided into six groups which were 1) 10 experts, 2) 9 university lecturers for interviewing about instructional management for active citizenship develop, 3) 380 Rajabhat universities lecturers, 4) 760 Rajabhat university students, 5) 40 Rajabhat university students as experimental group, and 6) 12 specialists. The research instruments of this study included interviewing forms, questionnaires, evaluation forms, and record form. The data analysis was performed with content analysis and descriptive statistics. The research findings showed that; 1. Three characteristics of active citizenship for local community development were dimensions of knowledge (information literacy, ICT literacy, and social literacy), skills (access, evaluate, and create and integrate), and attitude (social awareness, social respect, and social responsibility); 2. The best instructional management for enhancing social responsibility and community participation of the students was learning through activities and Rajabhat university students should have social awareness was at highest level; 3. The characteristics of active citizenship in Rajabhat university students were at high level in every dimension; 4. The instructional model of Interconnected Learning Theory for enhancing citizenship as local community development in Rajabhat university students consisted of learning areas of six lessons through 7 strategies of interconnected learning together with 7 learning methods which took 12 weeks of class meetings of 36 hours. Learning outcome was evaluated with thought reflections, learning activity records, and observation; 5. The efficacy of the Interconnected Learning Model for enhancing the active citizenship for local community development of Rajabhat university students revealed that the mean scores on the characteristics of active citizenship in Rajabhat university students increased in every aspect at highest level (=4.65) which was higher than the mean scores before implementation of the Interconnected Learning Model (=4.20) with statistical significance at .05 (p=.000) The implementation of Interconnected Learning Model could enhance the learning competence best in skills aspects. It could be concluded that the instructional model of Interconnected Learning Theory for enhancing citizenship as local community development in Rajabhat university students was a proactive instructional approach from experiential learning among the learners, instructors, and community. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76632 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1345 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1345 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784260727.pdf | 16.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.