Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76678
Title: บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Parents’ roles in promoting play for preschoolers in Bangkok
Authors: แพร นากชื่น
Advisors: ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ผู้ปกครองกับเด็ก -- ไทย
การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
การเล่น
นักเรียนอนุบาล -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Parent and child -- Thailand
Parent participation
Play
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการเล่นของเด็กวัยอนุบาล และ 2) วิเคราะห์บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในกรุงเทพมหานคร ใน 2 ด้าน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อม และการสนับสนุนการเล่น ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองของเด็กอนุบาลอายุ 3 - 6 ปี จำนวน 432 คน จากโรงเรียน 4 สังกัด ได้แก่ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็น ดังนี้ 1) เด็กวัยอนุบาลเล่นใน 3 ลักษณะ ได้แก่ (1) การเล่นในมิติเชิงสติปัญญา พบการเล่นสร้างสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 98.5 (2) การเล่นในมิติเชิงร่างกาย พบการเล่นโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กสูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97 และ (3) การเล่นในมิติเชิงสังคม พบการเล่นร่วมกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 83.9 2) ผู้ปกครองมีบทบาทในการส่งเสริมการเล่นแก่เด็กวัยอนุบาลในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 โดยการสนับสนุนการเล่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด เท่ากับ 4.32 รองลงมาคือ การจัดสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88
Other Abstract: The purposes of this research were to study preschoolers’ characteristic of play and parents’ role in promoting play for preschoolers in Bangkok in 2 aspects which were organizing play environment and supporting play. Samples were 432 parents of children aged 3-6 years in schools located in Bangkok area under 4 offices which were schools under the Bangkok Education Bureau, the Office of the Basic Education Commission, the Office of the Private Education Commission and the Office of the Higher Education Commission. The research instruments were questionnaire and interviewing form. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis. The research findings were as follows: 1) All three types of play found in this research which were 1) constructive play (98.5%) was the most frequency according to intellectual play, 2) fine motor play (97%) was the most frequency according to physical play, and 3) associative play (83.9%) was the most frequency according to social play. 2) Parents’ role in promoting play for preschoolers were at a high level mean score at 4.10. Supporting of play were the highest mean score at 4.32, followed by organizing play environment mean score at 3.88.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76678
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.644
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.644
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083383727.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.