Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76768
Title: | การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริมเรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Development of innovative learning media in biology mixed with augmented reality on DNA technology for promoting biology concepts of senior high school students |
Authors: | รัชชานนท์ ดิษเจริญ |
Advisors: | อัศวนนทปกรณ์ ธเนศวีรภัทร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยา จำนวน 5 ท่าน และผู้ออกแบบหลักสูตรวิชาชีววิทยาในสถานศึกษา จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มออนไลน์แบบมีโครงสร้างเรื่อง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบ สร้าง และประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสบการณ์เรียนเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาต้นแบบ เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ประกอบด้วย 4 หัวเรื่อง และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 3 นำสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยา จำนวน 1 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ยังไม่มีประสบการณ์เรียนเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ปรับปรุงแก้ไขจากขั้นตอนที่ 2 และ 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 20 ข้อ ในรูปแบบของแบบทดสอบแบบเลือกตอบสองระดับ มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.36-0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.43-0.71 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 และขั้นตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยาและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเดียวกับกลุ่มทดลองใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ในขั้นตอนที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และ 2) แบบบันทึกการสนทนากลุ่มแบบออนไลน์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ค่าดัชนีประสิทธิผล การสรุปพรรณนา เรียบเรียง และการวิเคราะห์สาระ ผลการวิจัยพบว่าสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในรูปแบบการผสมผสานระหว่างความเป็นจริงเสริมและชุดทดลองวิทยาศาสตร์ ได้รับการประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 แบบเดี่ยวและแบบกลุ่มเล็ก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 (SD = 0.58) 4.26 (SD = 0.59) และ 4.22 (SD = 0.66) ตามลำดับ ซึ่งจัดอยู่ในระดับเห็นด้วยมากเช่นเดียวกัน คะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ หลังทดลองใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าก่อนทดลองใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.4783 และความพึงพอใจต่อสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 และครูชีววิทยาที่ผ่านการทดลองใช้สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 (SD = 1.20) และ 4.90 (SD = 0.31) ตามลำดับ จัดอยู่ในระดับพึงพอใจมากและมากที่สุด ตามลำดับ |
Other Abstract: | This research was a research and development. The main purpose of this research was to develop innovative learning media in biology on DNA technology for senior high school students. The research process was divided into 4 phases. Phase 1: Study basic information about the characteristics of innovative learning media in biology on DNA technology, the target groups in this phase were 5 biology teachers and 5 curriculum designers in biology courses in schools. The research instrument was the structured online focus group note on information about characteristics of innovative learning media in biology on DNA technology. Phase 2: Design, create and evaluate innovative learning media, the target groups in this phase were three content experts, three learning media technicians, and fifteen 11th grade students who have had the experience of studying DNA technology. The research instruments were 1) the innovative learning media in biology on DNA technology, consisting of 4 topics and 2) the assessment form for the suitability and consistency of innovative learning media, which is a 5-level rating scale. Phase 3: Experimenting with innovative learning media, the target groups in this phase were a biology teacher and eleven 10th grade students who have no experience of studying DNA technology. The research instruments were 1) the innovative learning media in biology on DNA technology revised in the previous phase and 2) the 20-item biological concepts test on DNA Technology in the form of a two-tier multiple-choice test. The items difficulty value, discrimination value, and reliability value of this test were 0.36-0.79, 0.43-0.71, and 0.77, respectively. Phase 4: Evaluate and improve innovative learning media, the target groups in this phase were a biology teacher and 10th grade students. They were the same group after experimenting with innovative learning media in phase 3. The research instruments were 1) the assessment form for satisfaction to innovative learning media, which is a 5-level rating scale and 2) the structured online focus group note about the opinions on innovative learning media. The collected data were analyzed by descriptive statistics, effectiveness index, and content analysis. The results showed that the innovative learning media in biology on DNA technology that combines augmented reality and science kits was assessed for the suitability and the consistency of innovative learning media were assessed by experts, single group and small group of 11th grade students were 4.41 (SD = 0.58), 4.26 (SD = 0.59) and 4.22 (SD = 0.66) respectively, with the mean scores at a strongly agree level. The average score of biology concepts about DNA technology after experimenting with innovative learning media of 10th grade students was more than before experimenting with innovative learning media. The effectiveness index of innovative learning media was 0.4783. The average scores of satisfactions to the innovative learning media of 10th grade students and the biology teacher who used innovative learning media were 4.38 (SD = 1.20) and 4.90 (SD = 0.31) respectively. The mean scores of these students and the teacher were a very satisfying and most satisfying level, respectively. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76768 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1366 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1366 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280126627.pdf | 4.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.