Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7678
Title: ประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นของกระบวนการสร้างเพ็ลเล็ตแบบไหลขึ้น ในระบบขนาดต้นแบบ
Other Titles: Turbidity removal efficiency of the prototype upflow pelletization process
Authors: พลภัทร อรัณยกานนท์
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน
สารส้ม
คอลลอยด์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ได้ทดลองประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างเพ็ลเล็ตแบบไหลขึ้นขนาดใช้งานจริงเพื่อผลิตน้ำประปาจริง โดยใช้น้ำดิบจากคลองประปาที่ในช่วงที่มีความขุ่นประมาณ 90 ถึง 250 เอ็นทียู (แปรผันไปตามฤดูกาล) ถังปฏิกรณ์ทำด้วยเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 ม. ผลิตน้ำได้อย่างน้อย 14 ลบ.ม./ชม. โดยใช้สารส้มปริมาณความเข้มข้น 17 มก./ล. Al2(SO4)3.18H2O เป็นโคแอกกูแลนต์ และโพลีเมอร์ไม่มีประจุเป็นโคแอกกูแลนต์เอด ที่อัตราน้ำไหลขึ้นอย่างน้อย 8 ม./ชม. การทดลองแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ทดลองเปรียบเทียบการเวียนเพ็ลเล็ตที่อัตรา 0.3 ของน้ำไหลเข้าและไม่มีการเวียนเพ็ลเล็ต แปรค่าโพลีเมอร์ 4 ค่า คือ 0.1, 0.3, 0.5 และ 0.7 มก./ล. ส่วนการทดลองช่วงที่ 2 ทดลองเปรียบเทียบอัตราการหมุนใบกวนที่ 2, 4 และ 6 รอบต่อนาที และแปรค่าโพลีเมอร์ 3 ค่าที่ 0.5, 0.7 และ 0.9 มก./ล. ช่วงที่ 3 ทดลองเปรียบเทียบรูปแบบจำนวนใบกวน 2 แบบ คือ แบบ 6 ใบ (เหมือนการทดลองช่วงที่ 1 และ 2) และแบบ 2 ใบ ที่อัตราโพลีเมอร์คงที่ 0.3 มก./ล. การทดลองทั้งหมดดำเนินการทดลองเป็นเวลา 72 ชม. ต่อการทดลอง โดยเก็บน้ำตัวอย่างทุก 6 และ 12 ชม. ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการ จากการทดลองได้ข้อสรุปว่า 1. ในการทดลองนี้ยังไม่สามารถสร้างเพ็ลเล็ตได้ เนื่องจากยังไม่สามารถควบคุมลักษณะทางกายภาพของถังปฏิกรณ์ให้มีสภาพที่เหมาะสมในการเเกิดเพ็ลเล็ตได้ แม้จะใช้ A1/T 0.015 ถึง 0.005 และ P/T 0.0025 ถึง 0.0098 2. การเวียนมวลของแข็งในการทดลองนี้ ทำให้ระบบเสียสมดุลและสถานะคงตัว อาจจะเนื่องจากเครื่องสูบน้ำที่ใช้เวียนมวลของแข็งที่ไม่เหมาะสม ทำให้มวลของแข็งแตกและกลายเป็นการเพิ่มภาระกับระบบ 3. อัตราการหมุนใบกวนที่ 2 รอบต่อนาที ให้ผลที่ดีกว่าการทดลองที่อัตราหมุนสูงกว่า และมีแนวโน้มว่า ถ้าอัตราการหมุนต่ำกว่านี้จะให้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น 4. รูปแบบใบกวน 2 ใบให้ผลดีกว่าแบบ 6 ใบ ซึ่งเป็นผลจากค่าความปั่นป่วนที่น้อยลง 5. การเพิ่มปริมาณโพลีเมอร์ไม่มีประจุจาก 0.1 ถึง 0.9 มก./ล.มีผลทำให้ประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่นที่ดีขึ้น 6. อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นสามารถผลิตน้ำที่มีคุณภาพสูงได้ (ต่ำกว่า 5 เอ็นทียู) แต่ต้องมีการปรับปรุงอีกเพื่อประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าสามารถใช้ผลิตน้ำประปาแบบใหม่ได้ในอนาคต
Other Abstract: This paper is a study about the upflow pelletization process using the raw water from the Prapa canel which has turbidity approximately at 90 to 250 NTU (depended on each season), also a tank reactor with diameter 1.5 m which can produce at least 14 m3/hr treated water. Seventeen mg/l of alum was used as coagulant, nonionic polymer was used as coagulant at water up-flow rate of 8 m/hr. This experiment was divided into 3 parts. The first one compared between pellet recireculation at 0.3 water inflow and without recirculated, with polymer at 0.1, 0.3, 0.5 and 0.7 mg./l. The second one compared the agitation speed at 2, 4 and 6 rev./min. The last part compared between two types of agitator, i.e., 2 blades, and 6 blades at 0.3 mg/l polymer. The experiment took 72 hr while the sample water was collected every 6 and 12 hr. Conclusion of the experiment: 1. Pellet could not be created in this since the tank reactor could not be controlled under the suitable condition, even using the A1/T ratio of 0.015 to 0.005 andthe ratio P/T 0.0025 to 0.0098. 2. Recirculation of solids mass made the process unsteady which might be caused from the unsuitable pump, so the solids mass were broken, resulting in the process overload. 3. The result of agitation speed at 2 rev./min. was better than the result of higher agitation speed. It had the trend that the lower agitation speed created the better effective results. 4. Two blades agitator gave better result than 6 blades, due to the less of velocity gradient 5. Nonionic polymer 0.1 to 0.9 mg/l gave the better turbidity removal efficiency. 6. This prototype Pelletization tank could produce high quality water (less than 5 NTU). It needed however to be improve in order to get the higher efficiency which could be used to produce a good treated water in the future.
Description: วิทยานิพนธ์(วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7678
ISBN: 9746386298
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Palapatra_Ar_front.pdf856.12 kBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch1.pdf180.91 kBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch2.pdf170.01 kBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch3.pdf1.97 MBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch4.pdf634.79 kBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch5.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch6.pdf253.43 kBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_ch7.pdf185.97 kBAdobe PDFView/Open
Palapatra_Ar_back.pdf2.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.