Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77032
Title: Friction and wear properties of polybenzoxazine/acrylonitrile-butadiene rubber composites for brake pads application
Other Titles: สมบัติทางการเสียดทานและการสึกหรอของคอมพอสิทจากพอลิเบนซอกซาซีนและยางอะคริโลไนไทรล์-บิวทาไดอีนสำหรับการทำผ้าเบรครถยนต์
Authors: Jakkrit Jantaramahab
Advisors: Sarawut Rimdusit
Other author: Chulalongkorn university. Faculty of Engineering
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This research aims to develop acrylonitrile-butadiene rubber particles (NBR)-filled polybenzoxazine (PBA-a) composites as friction materials for brake pads application. The effect of types of NBR, i.e. ultrafine-NBR (UNBR) and micro-NBR (MNBR) on friction and wear, and thermomechanical properties of the PBA-a/NBR composites was investigated. From the results, the coefficient of friction of all PBA-a/UNBR and PBA-a/MNBR composites clearly increased with  increasing rubber particle contents, i.e. 0.50-0.62 for the PBA-a/UNBR and 0.50-0.61 for the PBA-a/MNBR. In addiion, the lowest specific wear rate belonged the PBA-a filled with 5wt% of UNBR because the deformation of rubber particle plays a protective role against the wear damage of the composite. Whereas, the agglomeration of rubber particles was observed for the PBA-a filed with rubber particle over than 10wt%, resuting in an decrese in the specific wear rate due to easy detachment of NBR particles from the PBA-a matrix. Futhermore, the PBA-a/5wt% UNBR can maintain friction performance at temperature range of 25, 100, 150, 200 and 250oC. For the thermomechanical properties, the storage modulus at room temperature decreased with an increasing of rubber particle contents, while the PBA-a/UNBR and PBA-a/MNBR composites showed sinificantly high glass transition temperature found from the peak of loss modulus from dynamic mechanical analysis approximately 170-188oC. 
Other Abstract: ในงานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาวัสดุคอมพอสิทจากพอลิเบนซอกซาซีน (PBA-a) และอนุภาคยางอะคริโลไนไทรล์-บิวทาไดอีน (NBR) เป็นวัสดุเสียดทาน สำหรับประยุกต์ใช้ในการทำผ้าเบรครถยนต์ (อนุภาคยาง NBR ที่เราเลือกใช้ คือ อัลตราไฟน์-NBR (UNBR) และ ไมโคร-NBR (MNBR) เนื่องจากเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมผ้าเบรครถยนต์) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาผลกระทบของปริมาณการเติมอนุภาคยางทั้ง 2 แบบที่มีต่อคุณสมบัติทางกายภาพ ทางกล ทางความร้อน ทางการเสียดทาน และการสึกหรอของวัสดุคอมพอสิท จากผลการทดลองพบว่าค่าสมบัติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าสตอเรจมอดูลัส อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน และอัตราการสึกหรอ ของคอมพอสิท PBA-a/UNBR และ PBA-a/MNBR ที่การเติมอนุภาคยางNBR แต่ละชนิด ปริมาณ 0, 2, 5, 10 และ 15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก มีแนวโน้มเดียวกัน ซึ่งค่าสัมประสิทธิ์การเสียดทานของคอมพอสิท PBA-a/UNBR และ PBA-a/MNBR ทั้งหมดที่ทดสอบได้จากเครื่อง Pin-on-disc tribomer พบว่ามีค่าสูงขึ้นอย่างชัดเจนโดยจะสูงขึ้นเมื่อปริมาณอนุภาคยางในคอมพอสิทเพิ่มมากขึ้น จาก 0.50 ถึง 0.62 สำหรับ PBA-a/UNBR และ 0.50 ถึง 0.61 สำหรับ PBA-a/MNBR นอกจากนั้นคอมพอสิทสามารถแสดงค่าอัตราการสึกหรอต่ำที่สุดที่ปริมาณการเติมอนุภาคยางแต่ละชนิด 5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก เนื่องมาจากยางมีกระบวนการสูญเสียรูปเพื่อเพิ่มสภาพความเสียดทาน และยังเป็นการป้องกันรอยแตกร้าวของคอมพอสิทอีกด้วย แต่ทว่าการเติมอนุภาคยางมากกว่า 10 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนักจะทำให้อนุภาคยางเกิดการเกาะกลุ่มกันเองทำให้เกิดการหลุดออกจากพื้นผิวของคอมพอสิทได้ง่าย หลังจากนั้นนำคอมพอสิทที่เติมอนุภาคยาง UNBR 5 เปอร์เซ็นโดยน้ำหนักซึ่งเป็นสูตรที่ได้อัตราการสึกหรอต่ำสุด ไปทดสอบสมบัติด้านการเสียดทานที่อุณหภูมิต่างๆ คือ 25, 100, 150, 200 และ 250 องศาเซลเซียส พบว่าคอมพอสิทยังคงรักษาสภาพการเป็นวัสดุเสียดทานได้ดี ยิ่งไปกว่านั้นค่าสตอเรจมอดูลัสที่อุณหภูมิห้องของคอมพอสิท PBA-a/UNBR และ PBA-a/MNBR ทั้งหมด ที่ตรวจวัดได้จากเครื่อง Dynamic mechanical analyzer (DMA) มีค่าลดลงตามปริมาณการเติมอนุภาคยางที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนอุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg) ของคอมพอสิท PBA-a/UNBR และ PBA-a/MNBR พบว่า Tg ของคอมพอสิท PBA-a/UNBR และ PBA-a/MNBR นั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 170 ถึง 188oC เมื่อเพิ่มปริมาณการเติมอนุภาคยางแต่ละชนิด ลงในคอมพอสิท
Description: Thesis (M.Eng.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Master of Engineering
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Chemical Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77032
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670136121.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.