Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77253
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันเฉลิม โปรา-
dc.contributor.authorนพเมธ ปวิธพาณิชย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-22T23:39:02Z-
dc.date.available2021-09-22T23:39:02Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77253-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractในปัจจุบันมิเตอร์อัจฉริยะถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าโดยจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ให้บริการไฟฟ้าในการส่งข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟ มิเตอร์อัจฉริยะนั้นเป็นอุปกรณ์มาตรวัดที่จำเป็นจะต้องทำการสอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การวัดค่าพลังงานทางไฟฟ้าเกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนามิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวที่สามารถสอบเทียบตัวเองได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งจ่ายอ้างอิงหรือมิเตอร์อ้างอิงที่มีความแม่นยำสูงในการสอบเทียบ ทำให้การสอบเทียบของมิเตอร์อัจฉริยะนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรักษาความแม่นยำที่ดีอยู่เสมอ ช่วยลดต้นทุนจากการทำการสอบเทียบแบบดั้งเดิม อีกทั้งยังสะดวกต่อการใช้งาน นอกจากนี้มิเตอร์อัจฉริยะในงานวิจัยฉบับนี้ยังมีความสามารถในการตอบสนองด้านโหลดอัตโนมัติที่สอดคล้องกับมาตรฐานโพรโทคอล OpenADR ซึ่งจะสามารถดำเนินการการตอบสนองด้านโหลดเพื่อช่วยในการลดช่องว่างระหว่างความต้องการใช้ไฟฟ้าและกำลังการผลิตโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง (Peak) ช่วยให้โครงข่ายไฟฟ้าสามารถรักษาเสถียรภาพ ป้องกันการเกิดไฟดับเป็นวงกว้าง หรือลดความผิดปกติที่ทำให้ความน่าเชื่อถือของระบบโครงข่ายไฟฟ้าต่ำลงได้ ดังนั้นการตอบสนองด้านโหลดจึงเป็นวิธีการสำคัญที่จะช่วยในการจัดการสภาวะวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้า สร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้พลังงานกับกำลังการผลิต และช่วยเสริมความมั่นคงในด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว-
dc.description.abstractalternativeNowadays, Smart meters are essential components in smart grids as they provide a connection between utilities and their customers. All smart meters must be calibrated before they can be installed. Moreover, they should be calibrated every few years. In this research describes a single-phase smart meter with an autocalibration feature. The accurate voltage and current sources are in the same chip as the metering part. This makes the calibration process unnecessary. So, cost from laboring and calibration equipment can be saved. Apart from automatic billing, a smart meter can help implementation of Demand Response (DR), which tries to balance the power required by the demand side and power capability of the supply side. DR is one of the most important functions in smart grid operation. However, no commercial smart meters in the market have yet to provide this DR function. Besides autocalibration, this prototype can communicate with the utility according to the OpenADR standard.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1128-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleมิเตอร์อัจฉริยะเฟสเดียวที่สอบเทียบตัวเองที่สอดคล้องกับโพรโทคอล OpenADR-
dc.title.alternativeA single-phase smart meter with autocalibration conformed to openadr protocol-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้า-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.1128-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270128621.pdf6.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.