Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7726
Title: การประยุกต์ใช้อิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์สเปกโตรเมตรี ในการตรวจพิสูจน์ธัญพืชฉายรังสีบางชนิด
Other Titles: Application of electron spin resonance spectrometry for investigation of some irradiated crops
Authors: กำพล แต้พานิช
Advisors: ชยากริต ศิริอุปถัมภ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chyagrit.S@Chula.ac.th
Subjects: อิเล็กตรอนพาราแมกเนติกเรโซแนนซ์
อิเล็กตรอนพาราแมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรเมตรี
อาหารฉายรังสี
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การตรวจพิสูจน์ธัญพืชฉายรังสีบางชนิดสามารถหาได้จาก การวิเคราะห์แรดิคอลอิสระ โดยวัดด้วยเครื่องมืออิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์สเปกโตรมิเตอร์ ตัวอย่างธัญพืชที่นำมาวิจัยได้แก่ เมล็ดข้าว เมล็ดข้าวโพด เมล็ดถั่วเขียว หัวมันฝรั่ง และเหง้าขิง ได้เปรียบเทียบจำนวนแรดิคอลอิสระ ระหว่างธัญพืชที่ฉายรังสีและไม่ฉายรังสี พบว่าธัญพืชที่มีลักษณะแห้งคือ เมล็ดข้าว และเมล็ดถั่วเขียวที่ผ่านการฉายรังสี จะมีจำนวนแรดิคอลอิสระเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ได้ฉายรังสี และมีปริมาณมากที่สุดในวันแรกหลังฉายรังสี และลดปริมาณแรดิคอลอิสระลงเรื่อยๆ จนใกล้เคียงกับค่าปรกติ ในตัวอย่างที่ไม่ฉายรังสีประมาณวันที่ 30 จะสังเกตได้ว่าธัญพืชที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบคือ หัวมันฝรั่งและเมล็ดข้าวโพดจะมีจำนวนแรดิคอลอิสระ ที่เพิ่มขึ้นเป็นเปอร์เซนต์น้อยกว่าธัญพืช ที่อยู่ในสภาพแห้งและจำนวนแรดิคอลอิสระของธัญพืช ที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบจะลดปริมาณแรดิคอลอิสระ จนอยู่ในสภาพปกติเร็วกว่าธัญพืชที่แห้ง สำหรับในเหง้าขิงสดมีลักษณะของสเปกตรัม ต่างจากธัญพืชอื่นเนื่องจากมี Mn2+ เป็นตัวรบกวนจึงไม่สามารถหาจำนวนแรดิคอลอิสระได้ จากการวิจัยสามารถสรุปได้ว่า วิธีอิเล็กตรอนสปินเรโซแนนซ์สเปกโตรเมตรีเป็นวิธีหนึ่ง ที่สามารถตรวจหาแรดิคอลอิสระในธัญพืชฉายรังสี เพื่อการยืดระยะเวลาเก็บรักษาบางชนิดได้ และจะให้ผลดีกับธัญพืชที่มีลักษณะแห้งและนำมาตรวจวัดภายใน 30 วัน
Other Abstract: Identification of some irradiated crops was studied by using an electron spin resonance spectrometer (ESR). Rice, corn, mung bean, potato and ginger were selected for this study. It was found that for those of dry crops such as rice and mung beans, after irradiation at the recommended dose for preservation, showed anomalous value of number of free radical as detected by ESR when compared to that of the unirradiated samples. The number of free radicals, however decreased to normal values after shelf-life of about 30 days. Hydrated crops such as potato and corn showed less amount of free radicals than that of the dry crops used in the experiment. The number of free radicals in hydrated crops was found also to decrease more rapidly than that of the dry crops. In case of irradiated ginger, the shape of ESR spectrum was differ from other samples. It was presumed that Mn2+ which presence in the sample, interfered the spectrum and it was not possible to determine the number of free radicals. It was concluded that ESR could be used to identify some dry irradited crops, if they were put to analyzed within 30 days after irradiation.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7726
ISBN: 9746383388
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kampol_Ta_front.pdf459.25 kBAdobe PDFView/Open
Kampol_Ta_ch1.pdf259.14 kBAdobe PDFView/Open
Kampol_Ta_ch2.pdf647.84 kBAdobe PDFView/Open
Kampol_Ta_ch3.pdf384.6 kBAdobe PDFView/Open
Kampol_Ta_ch4.pdf488.57 kBAdobe PDFView/Open
Kampol_Ta_ch5.pdf247.32 kBAdobe PDFView/Open
Kampol_Ta_back.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.