Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77777
Title: PM2.5, PM10 air pollution and associated heavy metals in traffic congested and construction areas of Bangkok
Other Titles: พีเอ็ม 2.5, พีเอ็ม 10 และ องค์ประกอบของโลหะหนักในอนุภาคฝุ่นริมถนนที่มีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของการจราจร และ กิจกรรมก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร
Authors: Paphinwit Thammasaroj
Advisors: Wanida Jinsart
Other author: Chulalongkorn university. Graduate School
Issue Date: 2019
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The capital city of Thailand, Bangkok, is facing a serious problem caused by overpopulation and traffic congestion. In the this work, particulate matter, both PM2.5 (diameter < 2.5 μm) and PM10 (diameter < 10 μm) were quantified at the road nears construction areas and road with high traffic; compared with a control area. The sampling area comprised of Pattanakarn Road and Srinagarindra Road located on the eastern route, located between the inbound and outbound junction. Mini-volume air sampler was used to collect PM2.5, while cyclone air samplers were used to collect PM10. The samples were collected from November to December 2018, for 12 hours per day for 5 days at each sites. The collected samples were then digested by using microwave digestion for heavy metal components like Fe, Cu, Zn, Cd and Pb. Then, they were analyzed by Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometry (GFAAS) to quantify the heavy metal concentrations. Video recorders were installed at each sampling areas to monitor the traffic flow and it was found that construction areas were the most crowded. The average PM2.5 and PM10 concentrations in the construction areas were higher than those in traffic areas with no construction and the background site (a park), which had no impacts from construction and traffic. Heavy metals associated with particulate matter emitted during construction activities is an emerging environmental issue; however, construction activities are required for convenience and development. This study provides important data required to monitor the future trends of air pollution sources. 
Other Abstract: ปัญหาประชากรหนาแน่นและสภาพการจราจรที่ติดขัดในประเทศไทยโดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครฯทำให้เกิดปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ ทั้งอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กพีเอ็ม2.5 (อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมโครเมตร) และ อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กพีเอ็ม10 (อนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมโครเมตร) ได้รับการตรวจวัดเพื่อหาปริมาณที่บริเวณริมถนนซึ่งกำลังมีการก่อสร้างและบริเวณริมถนนซึ่งการจราจรมีความหนาแน่นสูง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับบริเวณที่ไม่มีการก่อสร้างและการจราจรที่หนาแน่นเข้ามาเกี่ยวข้อง งานวิจัยนี้ได้เลือกถนนพัฒนาการและถนนศรีนครินทร์ที่เป็นถนนทางฝั่งตะวันออกและถนนทั้งสองสายตัดกันที่สี่แยกดังกล่าวให้เป็นบริเวณเก็บตัวอย่าง โดยใช้ชุดเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองในบรรยากาศ (MiniVolume Air Sampler) ในการเก็บอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กพีเอ็ม2.5 ในขณะที่เครื่องเก็บอากาศขนาดพกพา(Cyclone Air Sampler) ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็กพีเอ็ม10 ช่วงเวลาการดำเนินงานวิจัยครั้งนี้ได้ทำการศึกษาในเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนธันวาคมปีพ.ศ.2561 และ ได้เก็บตัวอย่างเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวัน ต่อเนื่อง 5 วันในแต่ละพื้นที่ที่ทำการศึกษา หลังจากนั้นนำตัวอย่างฝุ่นละอองข้างต้นที่เก็บมาไปสกัดด้วยเครื่องย่อยสลายตัวอย่างด้วยระบบไมโครเวฟ เพื่อหาธาตุโลหะหนักเหล่านี้ได้แก่ เหล็ก ทองแดง สังกะสี แคดเมียม และ ตะกั่ว หลังจากนั้นนำตัวอย่างที่ได้ทำการย่อยแล้วไปวิเคราะห์ต่อด้วยเครื่องมือวัดการดูดกลืนแสงของอะตอม (Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometer - GFAAS) เพื่อหาปริมาณความเข้มข้นของสารตัวอย่าง นอกจากนี้ตามบริเวณที่เก็บตัวอย่างแต่ละจุด ได้มีการติดตั้งกล้องบันทึกภาพแบบเคลื่อนไหวเพื่อบันทึกสภาพการจราจรในช่วงเวลาดังกล่าว โดยพบว่าสภาพการจราจรในบริเวณที่มีการก่อสร้างบนท้องถนนมีความหนาแน่นมากกว่า นอกเหนือจากนี้ความเข้มข้นเฉลี่ยของอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็กทั้งพีเอ็ม2.5และพี่เอ็ม10 ในบริเวณที่มีการก่อสร้างยังแสดงค่าที่มากกว่าบริเวณอื่นๆ ในทางตรงกันข้าม บริเวณที่ไม่มีได้รับผลกระทบจากการจราจรและการก่อสร้างแสดงค่าที่ต่ำที่สุดจากทุกๆบริเวณเก็บตัวอย่างอื่นๆ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้นนี้ควรได้รับการตระหนักและความสำคัญในการพิจารณาแม้ว่าการก่อสร้างต่างๆในเมืองจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาและการอำนวยความสะดวกต่างๆจากสิ่งก่อสร้าง เพราะฉะนั้นงานวิจัยนี้จึงมีความคุ้มค่าที่จะทำการตรวจวัดถึงผลกระทบที่ซึ่งเป็นมลภาวะทางอากาศต่อๆไปในอนาคต
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2019
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Hazardous Substance and Environmental Management
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77777
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.269
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.269
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6087544120.pdf3.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.