Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77821
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคนางค์ ศรีหิรัญ-
dc.contributor.authorจุฑามาส ยังหัตถี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2021-11-16T02:34:15Z-
dc.date.available2021-11-16T02:34:15Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77821-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปที่มีผลต่อความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ในนักกีฬายูโดชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายูโด เพศชาย ระดับมหาวิทยาลัย อายุระหว่าง 18-24 ปี กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อป ทำการฝึกน้ำหนักในท่าทรัสเตอร์ ที่ความหนัก 85% ของความหนักสูงสุด จำนวน 6 ครั้ง พัก 30 วินาที แล้วฝึกต่อด้วยท่าวู้ดชอปกับเมดิซีนบอลในข้างที่ถนัด ที่ความหนัก 10% ของน้ำหนักตัว จำนวน 12 ครั้ง พักระหว่างชุด 4 นาที และกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบปกติ ทำการฝึกน้ำหนักในท่าแบ็คสควอท ที่ความหนัก 85% ของความหนักสูงสุด จำนวน 6 ครั้ง พัก 30 วินาที แล้วฝึกต่อด้วยท่าสควอทจั๊มพ์ จำนวน 12 ครั้ง พักระหว่างชุด 4 นาที ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกทั้งหมด 4 ชุด ฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ พลังกล้ามเนื้อ และความเร็วในการทุ่ม  ก่อนการฝึกและหลังการฝึก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแตกต่างภายในกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Pair samples t-test) และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent samples t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ภายในกลุ่มฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปและกลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบปกติ มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและพลังกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบหลังการฝึก 6 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อป มีความเร็วในการทุ่มเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มฝึกเชิงซ้อนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าในการศึกษาครั้งนี้โปรแกรมการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปช่วยให้นักกีฬายูโดสามารถพัฒนาความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ได้-
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to investigate the effect of complex training with barbell thruster and medicine ball wood chop on ippon-seoinage throwing performance in male judo players. Eighteen male judo players from University, Aged 18-24 years were recruited to participate in this study. The participants were randomly assigned into 2 groups (n=9/each group). In the experimental group, the participants underwent complex training with barbell thruster and medicine ball wood chop program, consisted of 6 thrusters exercise at 85%1RM and then continue 12 medicine ball wood chops with at 10% of body weight. The control group performed a normal complex training program, perform 6 squat exercise at 85%1RM and then continue 12 squat jumps. Both groups perform 4 sets of training day twice a week for 6 weeks in addition to their normal. Before and after 6-week of training, muscular strength, muscular power, and throwing velocity were determined. Data were analyzed using dependent and independent samples t-test to determine the statistical significance level at p- value <.05. The results showed that after six weeks of training, muscular strength and muscular power were significantly greater (P<0.05) in both group. Moreover, throwing velocity in experimental group was a significantly higher (P<0.05) after training and significantly greater (P<0.05) than control group at post-exercise. The conclusions in this study, the complex training with barbell thruster and medicine ball wood chop program is more effective for improving throwing performance in judo players.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1111-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการฝึกเชิงซ้อนด้วยท่าบาร์เบลทรัสเตอร์ร่วมกับเมดิซินบอลวู้ดช็อปที่มีต่อความสามารถในการทุ่มด้วยหัวไหล่ในนักกีฬายูโดชาย-
dc.title.alternativeThe effect of complex training with barbell thruster and medicine ball wood chop on ippon-seoinage throwing performance in male judo players-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1111-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178403039.pdf6.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.