Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78019
Title: การผลิตและลักษณะสมบัติของสารต้านจุลชีพที่ผลิตโดย Bacillus subtilis K-05
Other Titles: Production and characterization of antmicrobial compounds produced by Bacillus subtilis K-05
Authors: ปิยนาฏ ศิริบรรณ
Advisors: ส่งศรี กุลปรีชา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: สารต้านจุลชีพ
บาซิลลัสซับทิลิส
Bacillus subtilis
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการผลิตสารต้านจุลชีพจาก Bacillus subtilis สายพันธุ์ K-05 การทำสารให้บริสุทธิ์และการศึกษาลักษณะสมบัติของสารต้านจุลชีพ ภาวะที่ใช้เลี้ยง Bacillus subtilis สายพันธุ์ K-05 ได้แก่ เลี้ยงในอาหารเหลว Luria-Bertani (LB) ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 ชั่วโมง ได้สารซึ่งแสดงการยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบได้ทุกชนิด คือ สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกและแบคทีเรียแกรมลบ ยีสต์และราเส้นใย โดยจุลินทรีย์ทดสอบได้แก่ Bacillus subtilis ATCC 6633 Staphylococcus aureus ATCC 25923 Escherichia coli ATCC 25922 Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853 Candida albicans ATCC 70014 Aspergillus oryzae Fusarium sp. และ Alternaria sp. เมื่อสกัดแยกสารต้านจุลชีพจากส่วนใสด้วยเอทิลอะซิลเตท และจากเซลล์ด้วยเมทานอลแล้วนำมาทดสอบฤทธิ์การยับยั้งต่อจุลินทรีย์ทดสอบ พบว่าสารสกัดทั้งจากส่วนใสและจากเซลล์ สามารถยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบได้ทุกชนิดในระดับที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับสารจากส่วนใส ยกเว้นการยับยั้งยีสต์ C. albicans ATCC 70014 ซึ่งมีผลการยับยั้งลดลง พบว่าสารสกัดจากส่วนใสและสารสกัดจากเซลล์ให้ผลยับยั้งต่อจุลินทรีย์ทดสอบได้ใกล้เคียงกันและใกล้เคียงกับชุดควบคุมบวก ซึ่งได้แก่ คลอแรมเฟนิคอลและนีสแตติน การแยกสารต้านจุลชีพจากส่วนใสและสารสกัดจากเซลล์โดยวิธีโครมาโทกราฟีแบบผิวบาง โดยระบบตัวพา คือ เมทานอล : เอทิลอะซิเตท (5:95 โดยปริมาตร) พบว่าสำหรับสารต้านจุลชีพจากส่วนใส แยกสารได้ 4 ตำแหน่งโดยมีค่า Rf ของสารเท่ากับ 0.17 0.29 0.61 และ 0.75 สารต้านจุลชีพจากเซลล์พบว่าแยกสารได้ 4 ตำแหน่งเช่นเดียวกัน โดยมีค่า Rf ของสารเท่ากับ 0.09 0.21 0.29 และ 0.61 แสดงให้เห็นว่าสารต้านจุลชีพที่ผลิตจากส่วนใสและสารสกัดจากเซลล์มีองค์ประกอบของสารบางอย่างที่แตกต่างกัน ศึกษาการทำให้สารต้าน จุลชีพที่ได้จากส่วนใสบริสุทธิ์ เนื่องจากเป็นสารส่วนที่มีปริมาณมากและมีผลการศึกษามาก่อนว่าพบสารบริสุทธิ์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกได้ ผลการทำสารต้านจุลชีพให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโทกราฟฟี โดยมีระบบตัวพาคือเอทิลอะซิเตท 20% (โดยปริมาตร)ในเฮกเซน พบว่า ได้สารที่บริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล ซึ่งสามารถแสดงการยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบได้ทุกชนิด จากการวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีโดย 1H-NMR 13C-NMR 2D-NMR IR และ MS สรุปได้ว่าสารดังกล่าว คือ 2-methyl butanoic acid และ 3-methyl butanoic acid มีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 102 ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้เป็นสารที่ไม่พบว่าเคยมีรายงานการมีฤทธิ์เป็นสารต้านจุลชีพที่ผลิตโดย Bacillus spp. มาก่อน
Other Abstract: The production, purification and characterization of the antimicrobial compounds produced by Bacillus subtilis strain K-05 has been studied. B. subtilis strain K-05 was cultivated in Lauria-Bertani (LB) liquid medium in shake flask and jar fermentor at 30 oC for 60 h with aeration. The supernatant obtained from culture broth exhibited broad spectrum activity against Gram positive and negative bacteria, yeasts and mycelial molds studied. The test organisms were Bacillus subtilis ATCC 6633, Staphylococcus aureus ATCC 25923, Escherichai coli ATCC 25922, Pseudomonas aeruginosa ATCC 27853, Candida albicans ATCC 70014, Aspergillus oryzae, Fusarium sp. and Alternaria sp. Ethyl acetate extract of supernatant and methanol extract of cells could inhibit all test microorganisms. The inhibitory activity of crude extract was higher than that of the supernatant except on Candida albicans ATCC 70014. The inhibitory activity of crude extract of supernatant and cells was nearly equal to that of chloramphenicol and nystatin (positive control). Thin layer chromatography (TLC) using methanol: ethyl acetate (5:95) as eluent was used for isolation of the antimicrobial compounds from supernatant and cell extract. Supernatant extract showed 4 spots on TLC plate with Rf values of 0.17, 0.29, 0.61 and 0.75. While the cell extract gave 4 spots at Rf 0.09, 0.21, 0.29 and 0.61. This result indicated that some components in supernatant and cell extract was different. Purification of the antimicrobial compounds from supernatant was investigated due to it was the major portion and some purified compounds with inhibitory activity against some Gram positive bacteria was previously reported. After purification by column chromatography using 20% (v/v) ethyl acetate in hexane as eluent, the brown liquid purified compound was obtained. This compound revealed broad spectrum activity againt all test microorganisms. From the result of chemical analyses by 1H-MMR, 13C-NMR, 2D-NMR , IR and MS, it was concluded that the compounds are 2-methyl butanoic acid and 3-methyl butanoic acid with M.W. of 102. So far, there have been no reports on antimicrobial activities and the productions of these two compounds by Bacillus spp.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78019
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2238
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2238
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4772598623.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.