Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78127
Title: การเตรียมสารเคลือบผิวกระดาษระดับนาโนจากพอลิแลกไทด์ผสมมอนต์มอริลโลไนต์
Other Titles: Preparation of polylactide/montmorillonite nanocoating for paper
Authors: ภาสินี โนรีวรรณ
Advisors: สิริวรรณ พัฒนาฤดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: กรดโพลิแล็กติก
มอนต์มอริลโลไนต์
กระดาษ -- สารเคลือบ
Polylactic acid
Montmorillonite
Paper -- Coatings
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เตรียมสารเคลือบผิวกระดาษจากวัสดุชีวภาพ คือพอลิแลกไทด์เรซิน (PLA) ผสม มอนต์มอริลโลไนต์ชนิดดัดแปร (Cloisite 15A) เตรียมที่อัตราส่วนของมอนต์มอริลโลไนต์ที่ 3%, 6% และ 9% โดยน้ำหนัก และศึกษาผลของการเติมพลาสติไซเซอร์ต่อสารเคลือบผิวโดยใช้พอลิเอทิลีนไกลคอล (PEG) ที่น้ำหนักโมเลกุล 1,000 กรัมต่อโมล เติมที่ 5%, 10% และ 15% โดยน้ำหนัก การเคลือบผิวทำด้วยวิธี Solvent casting ใช้ไดคลอโรมีเทนเป็นตัวทำละลาย ทำการเคลือบลงบนผิวหน้ากระดาษ โดยใช้แท่งเคลือบ K bar ที่มีความหนาขณะเปียก 40, 80 และ 120 ไมครอน และนำไปอบที่อุณหภูมิ 80 °C เป็นเวลา 20 นาที แล้วนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ ของกระดาษหลังเคลือบผิว เช่น น้ำหนักของสารเคลือบ สัณฐานวิทยาของกระดาษหลังเคลือบผิว ความขาวสว่าง ความมันวาว ความแข็งแรงต่อแรงดึงและแรงดันทะลุ สภาพให้อากาศซึมได้ การดูด-ซึมน้ำ การถอนผิวกระดาษ และมุมสัมผัสของน้ำบนกระดาษหลังเคลือบผิว ผลพบว่าสารเคลือบผิวผสมมอนต์-มอริลโลไนต์มีสมบัติการขวางกั้นอากาศและการกันการดูดซึมน้ำเข้าผิวกระดาษที่ดีมาก เมื่อผสมในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สมบัติดังกล่าวดีมากขึ้นตามลำดับ ความมันวาวของกระดาษหลังเคลือบผิวมีเพิ่มมากขึ้น สารเคลือบผิวสามารถยึดกับกระดาษได้ดีมาก ไม่เกิดการถอนผิวของกระดาษ จากการตรวจวัดสมบัติของผิวหน้าสารเคลือบพบว่ามีความไม่ชอบน้ำ การเติม PEG ลงในสารเคลือบผิวผสมมอนต์มอริลโลไนต์ ผลพบว่าที่การเติม 5% โดยน้ำหนัก ส่งผลให้สารเคลือบผิวผสมมอนต์มอริลโลไนต์มีความเงาสูงสุด นอกจากนี้การเติม PEG ช่วยปรับให้ผิวหน้าสารเคลือบมีความชอบน้ำเพิ่มขึ้นด้วย จากการตรวจสอบสมบัติของแผ่นฟิล์มพอลิแลกไทด์ผสมมอนต์มอริลโลไนต์พบว่าแผ่นฟิล์มมีความเป็นผลึก (Crystallinity) เกิดขึ้น จากภาพถ่าย TEM แสดงให้เห็นถึงลักษณะการเกิด Intercalation และการเกิด Exfoliation บางส่วน ผลการทดสอบการทนต่อความร้อนของแผ่นฟิล์มพอลิแลกไทด์ผสมมอนต์มอริลโลไนต์พบว่าแผ่นฟิล์มมี Onset temperature สูงขึ้นประมาณ 10°C เมื่อเทียบกับแผ่นฟิล์มพอลิแลกไทด์ที่ไม่ผสมมอนต์มอริลโลไนต์
Other Abstract: Preparation of nanocoating for paper based on polylactide, a biodegradable polymer, and modified montmorillonite (Cloisite 15A) was studied. Monmorillonite was added at 3%, 6%, and 9% by wt. Effect of plasticizer on film flexibility was also investigated at 5%, 10%, and 15% (by wt) by adding poly(ethylene glycol) (MW 1,000 g/mol). Film coating was done by solvent casting technique in which dichloromethane was used as a solvent. Film thickness was controlled at 40, 80, and 120 microns (wet film thickness) using K bar. After that, the coated paper was dried at 80 °C for 20 min, and later characterized in terms of coating weight, morphology of coated paper, brightness, gloss, tensile and burst strength, air permeability, cobb and picking tests, and water contact angle. It was found that the barrier properties, such as air permeability and water absorption, were much improved by adding montmorillonite in which increasing the amount was further enhanced the properties. The coated paper gained more smoothness due to better surface coverage and porosity reduction in the paper. As a result, gloss of the coated paper was also increased. The coating strongly adhered to the paper in which no picking was occurred. From water contact angle measurement, it suggested that the coating surface appeared to be hydrophobic. The coating surface tended to be more hydrophilic when PEG was added. By adding 5% wt of PEG in the mixture resulted in a gloss improvement. It was observed that polylactide could crystallize under the solvent casting condition. TEM micrographs suggested the presence of intercalation and exfoliation in the nanocomposite films, enhancing the onset temperature of such films by 10°C higher than that of the polylactide film
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78127
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4972435123_2551.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Fulltext)6.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.