Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78483
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา-
dc.contributor.advisorฉัตรทิพย์ รอดทัศนา-
dc.contributor.authorนดา ยีมัสซา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-04-28T04:15:02Z-
dc.date.available2022-04-28T04:15:02Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78483-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562en_US
dc.description.abstractระบบนิเวศป่าชายเลนมีความสำคัญในการรักษาเสถียรภาพชายฝั่ง แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนชายฝั่งในประเทศไทยเกิดความเสื่อมโทรมเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์และการรบกวนตามธรรมชาติภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พืชในป่าชายเลนเจริญเติบโตในสภาพดินเลนอ่อนนุ่มที่มีการท่วมถึงของน้ำที่สม่ำเสมอและความเค็มสูง จึงมีการพัฒนาลักษณะพิเศษของรากส่วนเหนือดิน (pneumatophore) ที่พบในไม้สกุลแสม (Avicennia sp.) โดยมีบทบาทในการกักเก็บและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเพื่อให้พืชสามารถเจริญในสภาพที่ดินขาดออกซิเจนได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของรากส่วนเหนือดินของแสมขาวที่ตอบสนองต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันตามระยะห่างจากทะเล ณ ป่าชายเลนชายฝั่งบางปู จังหวัดสมุทรปราการ โดยวางแนวศึกษา (line transect) จำนวนสามแนวจากริมทะเลจนถึงสุดเขตด้านในแผ่นดิน เก็บข้อมูลความหนาแน่นและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรากส่วนเหนือดินของแสมขาวและปัจจัยสิ่งแวดล้อมตามแนวศึกษาในช่วงเริ่มฤดูมรสุมและฤดูมรสุม ผลการศึกษาพบว่า รากส่วนเหนือดินของแสมขาวมีความหนาแน่นระหว่าง 44-1,144 รากต่อตารางเมตร ซึ่งอยู่ในช่วงเดียวกับรายงานในป่าชายเลนธรรมชาติ ความหนาแน่นรากส่วนเหนือดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับระยะห่างจากทะเลในช่วงเริ่มฤดูมรสุม โดยระยะห่างจากทะเลที่เพิ่มขึ้นมีผลต่อระดับความสูงของพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นทำให้ระยะเวลาที่พื้นที่ถูกน้ำท่วมลดลง ซึ่งรากส่วนเหนือดินที่อยู่ในบริเวณริมทะเลที่ถูกน้ำท่วมนานกว่าจะมี ความสูง พื้นที่ผิว และปริมาตรมากกว่า นอกจากนี้ความหนาแน่นรากส่วนเหนือดินมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความหนาแน่นของต้นไม้ในแนวศึกษา และพบว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาของรากเหนือดินของแสมขาวมีค่าลดลงเมื่อความหนาแน่นของดินเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงลักษณะของรากส่วนเหนือดินที่ตอบสนอง ต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นของราก (root plasticity) ของแสมขาวที่มีบทบาทสำคัญทำให้รากสามารถคงทำหน้าที่ได้ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนปลูกป่าชายเลนที่ช่วยรักษาเสถียรภาพระบบนิเวศชายฝั่งได้อย่างยั่งยืนภายใต้สภาวะ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกen_US
dc.description.abstractalternativeMangrove ecosystem is important for maintaining coastal stability but nowadays an area of coastal mangrove forest in Thailand has been degraded by anthropogenic activities and natural disturbances under climate change. Mangrove plants grow on soft muddy soil with high salinity and receive frequent inundation. Therefore, a special character of the aboveground root (pneumatophore) was developed in the genus Avicennia to supply and exchange oxygen for plants growing on anaerobic soil. This study aims to investigate the variations of aboveground root traits of Avicennia alba in relation to environmental gradients across the distance from the sea at Bangpu coastal mangrove forest, Samut Prakan Province. We established the three line-transects from the seashore landward then recorded density and morphological characters of A. alba aboveground-roots and environmental factors during the pre-monsoon and the monsoon periods. The results showed that the aboveground root density ranged from 44 to 1,144 roots/m2 which is close to those reported in natural mangrove forests. Aboveground root density positively correlated to the distance from the sea in the pre-monsoon period. Increasing distance from the sea affected higher elevation causing a shorter inundation period. Aboveground roots in the areas closer to the sea with the longer inundation period showed the greater height, surface area, and volume. Moreover, the density of aboveground roots had a positive correlation with tree density along the transects. The values of root morphological traits decreased with increasing soil bulk density. These variations of aboveground root traits responding to environmental factors indicated the root plasticity of A. alba, which plays an important role in sustaining root function under different environmental regimes. These findings will benefit the mangrove restoration plan to sustainably stabilize coastal ecosystems under global climate changeen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectป่าชายเลน -- ไทย -- สมุทรปราการen_US
dc.subjectแสมขาว (พืช)en_US
dc.subjectราก (พฤกษศาสตร์) -- นิเวศวิทยาen_US
dc.subjectMangrove forests -- Thailand -- Samut Prakarnen_US
dc.subjectAvicennia albaen_US
dc.subjectRoots (Botany) -- Ecologyen_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงลักษณะของรากส่วนเหนือดินที่ตอบสนองต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อม ในแสมขาวในป่าชายเลนชายฝั่ง จังหวัดสมุทรปราการen_US
dc.title.alternativePlasticity of aboveground root traits in response to environmental factors in Avicennia alba in a coastal mangrove forest in Samut Prakarn Provinceen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-BIO-020 - Nada Yimatsa.pdf2.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.