Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78484
Title: การดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมักโดยใช้วัสดุดูดซับจากเส้นใยเซลลูโลส
Other Titles: Cellulose Fiber Sorbent for Carbon dioxide adsorption in Fermented Gas
Authors: พัทธวรรณ เปี่ยมดำรงศักดิ์
วทัยพรรณ อยู่ทวี
Advisors: ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เส้นใยเซลลูโลส
คาร์บอนไดออกไซด์ -- การดูดซึมและการดูดซับ
Cellulose fibers
Carbon dioxide -- Absorption and adsorption
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาเส้นใยเซลลูโลส (cellulose fiber) ให้ได้มาซึ่งวัสดุที่ มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหมัก (fermented gas) ได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยทำการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพของตัวดูดซับที่เตรียมได้จากเส้นใยเซลลูโลสและโมเลกุลาร์ซีฟที่มีหมู่ฟังก์ชันเอมีนภายใต้ความดันบรรยากาศ ตัวแปรที่ทำการศึกษาประกอบด้วย ชนิดของวัสดุดูดซับ อัตราส่วนโดยมวลระหว่างเส้นใยเซลลูโลสต่อมีโซพอรัสซิลิกาและโมเลกุลาร์ซีฟ ความเข้มข้นของไอน้ำในแก๊สผสมขาเข้า และอุณหภูมิการดูดซับ จากผลการทดลองพบว่า ที่อุณหภูมิการดูดซับ 70 องศาเซลเซียส ภายใต้ภาวะความเข้มข้นของไอน้ำในแก๊สผสมขาเข้าร้อยละ 0 โดยปริมาตร วัสดุดูดซับมีโซพอรัสซิลิกาและเส้นใยเซลลูโลสที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO₂[subscript](CTAB)) มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 5.136 มิลลิโมลต่อกรัม โมเลกุลาร์ซีฟที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 2.300 มิลลิโมลต่อกรัม และภายใต้ภาวะความเข้มข้นของไอน้ำในแก๊สผสมขาเข้าร้อยละ 2 โดยปริมาตร วัสดุดูดซับมีโซพอรัสซิลิกาและเส้นใยเซลลูโลสที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีน ร้อยละ 40 โดย น้ำหนัก (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO₂[subscript]( (CTAB)-sP) มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 5.532 มิลลิโมลต่อกรัม โมเล-กุลาร์ซีฟที่ตรึงด้วยเตตระเอทิลีนเพนตะมีนร้อยละ 40 โดยน้ำหนัก (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO₂[subscript]((CTAB)-sP) มีความสามารถในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุด เท่ากับ 2.789 มิลลิโมลต่อกรัม
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of variables on CO₂ adsorption capacity of mesoporous silica and cellulose fiber adsorbent with amine functionalization and the molecular sieve adsorbent with amine functionalization at atmospheric pressure. The variables investigated here were types of adsorbents, types of cellulose fiber, dosages of tetraethylenepentamine loading in adsorbent and molecular sieve, water vapor concentrations in the inlet feed gas, and operating temperatures. The variables investigated here were adsorbents (mesoporous silica to cellulose fiber (m-SiO2-sP) 0.75:0.25 and molecular sieve (MS)), operating temperatures at 70 °C). It was found that the maximum CO₂ adsorption capacity of 5.136 mmol/g, 2.300 mmol/g, 5.532 mmol/g and 2.789 mmol/g of adsorbent was obtained when the adsorbent was prepared by using both mesoporous silica and cellulose fiber with the optimal ratio of mesoporous silica to cellulose fiber from bleached kraft eucalyptus pulp equal to 0.75:0.25 and using CTAB as a surfactant with 40% (w/w) loading (40%TEPA/(0.75:0.25)m-SiO2 (CTAB)-sP) and molecular sieve on tetraethylenepentamine under the condition of 30%(v/v) CO₂ concentration and 0 and 2%(v/v) water vapor concentration in the inlet feed gas.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมีเทคนิค. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78484
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-CHEMENG-025 - Phatthawan Pia.pdf755.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.