Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78525
Title: การศึกษาแบคทีเรียที่การย่อยสลายพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต
Other Titles: Study of polyethylene terephthalate degrading bacteria
Authors: พีรวิชญ์ พลอยประดับ
Advisors: วันชัย อัศวลาภสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: พลาสติก -- การย่อยสลายทางชีวภาพ
แบคทีเรีย
Plastics -- Biodegradation
Bacteria
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พลาสติกกำเนิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เป็นหนึ่งในวัสดุสังเคราะห์ชนิดใหม่ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดต่าง ๆ ของวัสดุธรรมชาติ และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันหลากหลายประเภท พลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตหรือพลาสติก PET เป็นพลาสติกในกลุ่มโพลีเอสเตอร์ซึ่งมีปริมาณการผลิตและใช้เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี จากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มบรรจุภัณฑ์และหีบห่อจากพลาสติก PET ได้รับความนิยมและใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันเนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกชนิดนี้มีต้นทุนการผลิตถูก น้ำหนักเบา โปร่งใส ทนแรงกระแทกและแรงเฉือนได้ดี ถึงอย่างใดก็ตามปัญหาขยะพลาสติก PET ถือว่าเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง การศึกษาวิจัยเพื่อหาแนวทางในการกำจัดขยะพลาสติก PET หนึ่งในแนวทางนั้นคือการย่อยสลายขยะพลาสติก PET ด้วยจุลินทรีย์โครงการนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาการเจริญของแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติกพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลตจากแบคทีเรียที่คัดแยกได้ จากงานวิจัยก่อนหน้านี้จำนวน 3 รหัสได้แก่แบคทีเรียรหัส S3, S4 และ S7 เมื่อนำแบคทีเรียทั้ง 3 รหัส เลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อแข็ง carbon free mineral medium (CFMM) ที่ผสมพลาสติก PET เป็นแหล่งคาร์บอน สามารถคัดแยกแบคทีเรียได้เพิ่มเติม 5 รหัส คือ S3-W, S4-W, S7-W, S7-Y และ S7-LW จากนั้นนำแบคทีเรียรหัส S3, S3-W, S4, S7-W, และ S7-Y มาศึกษาการเจริญในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลว CFMM ที่ผสมพลาสติก PET ด้วยวิธีการวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร ทุก ๆ 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 14 วัน พบว่ากราฟการเจริญของแบคทีเรียทั้ง 5 รหัสสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ กราฟที่มีช่วงค่าการดูดกลืนแสงที่แปรปรวนและกราฟการเจริญที่มีค่าการดูดกลืนแสงเป็นไปตามทฤษฎีการเจริญ เมื่อศึกษาลักษณะสัณฐานของแบคทีเรียด้วยวิธีการย้อมแกรมและศึกษาใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่าแบคทีเรียทุกรหัสมีแบคทีเรียลักษณะท่อนทั้งแกรมบวกและแกรมลบอาศัยอยู่ร่วมกัน
Other Abstract: Plastic was discovered in the 20th centuries. Plastic is the new synthetic material which human discovered in order to decrease some restrictions of natural substances. Moreover, people also developed it to become many household goods. Polyethylene terephthalate commonly abbreviated as PET plastic is in the category of polyester plastic which has high quantity of production and consumption in every year from the food and beverage industry. Packages from PET plastic are very popular and varied in everyone’s life. This is because of the properties of PET plastic that has cheaper cost, light weight, transparency, impact and shear resistance. However, the problem about PET plastic waste is considered to be an environmental problem that people around the world realize about its importance. This is the reason why there are some studies to research about the ways to get rid of this kind of waste. One of the solutions is that to decomposed PET plastic by microorganism. The propose of the is project is to study the outgrowth of selected bacteria that can decompose polyethylene terephthalate. The three bacteria from the previous study, bacteria code number S3, S4, and S7, are screening on carbon-free mineral medium (CFMM) agar mixed with PET plastics which are the source of carbon can define five new bacteria codes; S3-W, S4-W, S7-W, S7-Y and S7-LW. To observe bacteria code number S3, S3-W, S4, S7-W, and S7-Y growing on the CFMM medium mixed with PET plastic by measuring the absorbance at the 600 nanometers wavelength every 24 hours within 14 days shown the growth graph of five bacteria in two different patterns. The fluctuated absorbance values graph and the graph that according to growth theory. After that, study the bacteria morphology by gram staining and observe by light microscope found the two-gram staining bacteria in all isolated bacteria.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78525
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-MICRO-021 - Peeravit Ploypradab.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.