Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78556
Title: | ผลของความเข้มข้นของน้ำตาล และระยะทางของแหล่งอาหาร ต่อรูปแบบการหาอาหารของชันโรง Tetragonula pagdeni |
Other Titles: | The effect of sugar concentration and food distance to the foraging pattern of Tetragonula pagdeni |
Authors: | ศรัณย์ภัทร ยืนยาว |
Advisors: | สุรีรัตน์ เดี่ยววาณิชย์ ณัฐพจน์ วาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Subjects: | ซูโครส ชันโรง Sucrose Stingless bees |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พืชดอกสร้างน้ำหวานขึ้นมาเพื่อเป็นรางวัล (food reward) เป็นการล่อให้แมลงผู้ผสมเกสรมาเยือนดอกไม้เพื่อหาอาหาร และเป็นการช่วยผสมเกสร องค์ประกอบหลักในน้ำหวาน คือ น้ำตาลซูโครส ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ผู้ผสมเกสรตอบสนองได้ดีที่สุด ดังนั้น ความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีบทบาทต่อการตัดสินใจเลือกกินอาหาร ซึ่งผึ้งแต่ละสายพันธุ์จะมีความชอบความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสที่แตกต่างกันไป ชันโรง Tetragonula pagdeni เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงชันโรงในประเทศไทย แต่พฤติกรรม และรูปแบบการหาอาหารของชันโรงชนิดนี้ยังมีการศึกษาน้อย การศึกษาครั้งนี้เป็นการตรวจสอบพฤติกรรมของ T. pagdeni ในการใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหารโดยทำการศึกษาความเข้มข้นของน้ำตาลน้ำหวานที่ชันโรงชนิดนี้ชอบ โดยชันโรงจะเข้ามากินน้ำหวานบนจานอาหารที่มีความเข้มข้นของน้ำตาลซูโครสต่างกัน 4 ความเข้มข้น (0%, 15%, 35% และ 50% w/v) และทดสอบระยะทางที่ T. pagdeni ชอบใช้ในการหาอาหารจากรังสู่แหล่งอาหาร โดยชันโรงที่เข้ามากินน้ำหวานบนจานอาหารที่มีระยะทางห่างจากรังต่างกัน (1 เมตร, 4 เมตร, 7 เมตร, 10 เมตร) ทำการสังเกต และเก็บภาพโดยใช้กล้องถ่ายภาพ Nikon 5600D เพื่อนับจำนวนชันโรงที่เข้ามากินน้ำหวานบนจานอาหาร ด้วยโปรแกรม ImageJ และทำการเปิดรังเพื่อประเมินโครงสร้างภายในรัง สัดส่วนของถ้วยตัวอ่อน ถ้วยเก็บน้ำหวาน และถ้วยเก็บเกสรภายในรัง ผลการศึกษาพบว่า T. pagdeni มีความชอบน้ำตาลที่มีความเข้มข้นสูงตั้งแต่ 35% w/v ขึ้นไป (p<0.01) และเลือกเก็บอาหารจากแหล่งอาหารที่อยู่ใกล้กับรัง (p<0.05) สรุปได้ว่าความเข้มข้นของน้ำหวาน ระยะทางของแหล่งอาหารของอาหาร และปัจจัยทางกายภาพมีผลต่อจำนวนชันโรงที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากแหล่งอาหาร และรูปแบบการหาอาหารของ T. pagdeni |
Other Abstract: | Flowering plants produced nectar as a food reward for pollinators to exploit food sources and helping pollination. The main component in nectar is sucrose, which is the most effective stimulus for many bee pollinators with varying degree of preference for different sugar concentrations. Tetragonula pagdeni is one of the stingless bee species kept for meliponiculture in Thailand. However foraging behavior and food preference are largely unknown. This study investigated the behavior of T. pagdeni in exploitation of different concentration of sucrose solution and the distance to food source. Forager bees were trained to visit feeding stations with four concentrations of sucrose solution (0%, 15%, 35% and 50% w/v). The preferred distance of food source from the nest was studied by letting the forager bees freely visit feeding station from various distances from the hive (1m, 4m, 7m, 10m). The numbers of foragers visiting the feeders were recorded using photographic equipments (Nikon 5600D), and visualized and counted in ImageJ. After each experimental trial, the stingless bee colony was opened and observed to estimate the colony component and the proportion of broods, honey and pollen cells. The results showed that T. pagdeni prefers high sugar concentrations of 35% w/v and above (p<0.01), and most bees prefer to collect food closest to their hive (p<0.05). In conclusion, nectar concentration and food distance can influence the number of foraging bees and its overall foraging pattern in T. pagdeni. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78556 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
62-SP-BIO-028 - Saranpat Yuenyao.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.