Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78588
Title: ลักษณะเฉพาะและธรณีเคมีของแหล่งแร่เหล็ก-ทองแดงเขาทับควาย จังหวัดลพบุรี
Other Titles: Characteristics and geochemistry of Khao Thap Kwai Iron-Copper deposit
Authors: ภัทรพล รอดท่าไม้
Advisors: อภิสิทธิ์ ซาลำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ธรณีเคมี -- ไทย -- เขาทับควาย (ลพบุรี)
แหล่งแร่ -- ไทย -- เขาทับควาย (ลพบุรี)
Geochemistry -- Thailand -- Khao Thap Kwai (Lop Buri)
Mines and mineral resources -- Thailand -- Khao Thap Kwai (Lop Buri)
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาลักษณะพิเศษและธรณีเคมีของแหล่งแร่เหล็ก-ทองแดง เขาทับควาย จังหวัดลพบุรีแบ่งเป็น 2 วิธีคือ 1.ศึกษาโดยศิลาวรรณาและวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยเครื่อง EPMA โดยมีตัวอย่างคือหินท้องที่ หินแทรกซ้อน และสินแร่ โดยนำตัวอย่างไปทำ polish mount และ thin-section เพื่อหาองค์ประกอบแร่และเปรียบเทียบกับตำแหน่งที่เก็บตัวอย่าง ทำให้ทราบว่าเป็นแหล่งแร่เหล็กที่เกิดแบบ skarn 2.ศึกษาทางเคมี โดยนำตัวอย่าง หินท้องที่ หินทิ้ง หินแทรกซ้อน และสินแร่ นำไปทดลองการชะละลายด้วยวิธี Microwave total digestion แล้วนำไปวิเคราะห์หาธาตุโลหะหนักด้วยเครื่อง Inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-OES)พบว่า ค่าความเข้มข้นโดยเฉลี่ยของหินที่เลือกนำไปวิเคราะห์ทั้ง 12 ตัวอย่าง โดยแบ่งเป็นหินท้องที่ 1 ตัวอย่าง หินทิ้ง 7 ตัวอย่าง หินแทรกซ้อน 1 ตัวอย่าง และสินแร่ 3 ตัวอย่าง จากผลการตรวจหาปริมาณโลหะหนักด้วยเครื่อง ICP-OES ทำให้เราทราบว่า หินท้องที่พบธาตุโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐาน คือ สารหนู (As) โครเมียม (Cr) ทองแดง (Cu) และแมงกานีส (Mn) ที่มีค่าเกินมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ปริมาณของสารหนู (As) เกินในตัวอย่าง หินทิ้ง หินท้องที่ และสินแร่ ปริมาณโครเมียม (Cr) เกินในตัวอย่างหินทิ้ง ปริมาณทองแดง (Cu) เกินในตัวอย่างสินแร่ หินทิ้ง และหินแทรกซ้อน และปริมาณแมงกานีส (Mn) เกินในตัวอย่าง สินแร่ ดังนั้นควรเฝ้าระวังโลหะหนักที่เกินค่ามาตรฐานที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้น และสามารถจัดเก็บดูแล หินท้องที่ หินทิ้ง หินแทรกซ้อนและสินแร่ตามลำดับได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามโครงงานวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การวางแผนการจัดการจัดเก็บหินท้องที่ หินทิ้ง หินแทรกซ้อนและสินแร่ ที่สมัยก่อนได้จากการทำเหมืองและไม่มีการจัดเก็บที่ดีพอ เพื่อในอนาคตมีการวางแผนการจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่จะตามมาอาจจะส่งผลต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบเหมืองเก่า
Other Abstract: The study of special characteristics and chemical minerals of iron-copper ore, Khao Thap Khwai, Lop Buri Province, can be divided into 2 methods which are 1. Study by Sila Wanna and analyze the properties by EPMA. The samples are to polish the mountains and parts to find minerals and compare with the location where the sample is known as a source of skarn iron ore 2. Study chemistry by taking samples Leachate by microwave degradation method and then analyzed for the metal content received by inductively plasma mass spectrometry (ICP-OES). Found that the concentration by rock formation 7 discarded samples, 1 ironstone, and 3 ores. Based on the results of the detection of the amount of metal released by the ICP-OES, we know how much precious stone (Cu) and manganese (Mn) that Exceeds the water quality standards in surface water sources, the amount of organic matter ( As) exceeds the rock samples Reduction of excess mineral content (Cr) in discarded samples, excess copper (Cu) in the mineral samples, and excess manganese (Mn) minerals in minerals and minerals Pre-informed and able to properly store the remaining stones from the excavation of rocks and debris. From mining and not having enough storage for the future, planning to deal with such problems that may follow may affect the community and environment around the old mine.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาธรณีวิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78588
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-GEO-018 - Pattarapon Rod.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.