Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78640
Title: กิจกรรมในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมความเข้าใจในรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: In-class activity to promote the understanding of covalent structures for upper secondary school students
Authors: อิ่มเอม เตชะมา
Advisors: คเณศ วงษ์ระวี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เคมี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- โปรแกรมกิจกรรม
Chemistry -- Study and teaching (Secondary) -- Activity programs
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาวิชาเคมีของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพนันพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี พบว่าเนื้อหาวิชาเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาเรื่องรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์นั้นเป็นนามธรรมที่นักเรียนต้องใช้จินตนาการสูง จึงยากต่อการทำความเข้าใจของนักเรียน ในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การทดลอง ควบคู่กับการทำแบบฝึกหัด ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน (Valence Shell Electron Pair Repulsion (VSEPR)) โดยพัฒนาทั้งสิ้น 4 กิจกรรมที่เชื่อมโยงการจัดเรียงรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ กับการใช้จัดตัวของลูกโป่ง ปากกาสี ลูกบอลโฟม และชุดแบบจำลองโมเลกุลอะตอม ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนคาดคะเนรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ได้อย่างถูกต้อง ในงานวิจัยนี้ได้ทดสอบกิจกรรมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 36 คน โดยประเมินผลจากคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนและหลังทำกิจกรรม พบว่ากิจกรรมช่วยทำให้คะแนนจากแบบทดสอบของนักเรียนเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนจากการทดสอบก่อนทำกิจกรรม เท่ากับ 5.06 (จากคะแนนเต็ม 10) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.23 และค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนจากการทดสอบหลังทำกิจกรรม เท่ากับ 6.81 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 และเมื่อนำไปทดสอบทางสถิติด้วยค่าที (t-test) พบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบหลังทำกิจกรรมสูงกว่าการทดสอบก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และจากแบบสอบถามความพึงพอใจ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจกับกิจกรรมที่จัดอยู่ในระดับ 4.56 (จากคะแนนเต็ม 5)
Other Abstract: In chemistry subject, students in Mathayom Suksa 4, Phanat Pittayakhan School, Chonburi Province initiate that most of the chemistry contents is abstract especially for the defined shape of the covalent molecules. To determine the molecular shape, it requires a lot of imagination on the assigned atom in 3D arrangement which is difficult to understand{u1001F0}only from content in high school textbooks. In this study, we developed four learning activities based on the theory of repulsion of electron pairs (Valence Shell Electron Pair Repulsion, VSEPR). The four activities were designed to use balloons, color pens, foam balls and atom modeling kits which represent as the chemical atoms and bond. From these activities, student could design, build, predict and visualize the shape of the covalent molecules. Thirty six high school students (grade 10 from Mathayom Suksa School, Semester 1, Academic Year 2020, Phanat Phittayakhan School, Phanat Nikhom District, Chonburi Province) were used as the representative samples to join the activities. The success of the developed activities was evaluated by testing score before and after attending the activities. It was found that the average score of pre-test was 5.06 with the standard deviation of 2.23, while the average score of post test (after attending the activities) was 6.81 with the standard deviation of 2.39. The score of pre- and post- test was statistically tested with one-tail t-test. It results that the score of post-test was significantly improved with statistical p-value <0.01. This suggests that the developed activities successfully improved the understanding of student on the assigned shape of the covalent molecules using VSEPR.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78640
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-CHEM-000 - Im-em Taechama.pdf31.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.