Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78669
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณรงค์เดช สรุโฆษิต-
dc.contributor.authorกมลชนก อินวะษา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2022-05-30T07:56:53Z-
dc.date.available2022-05-30T07:56:53Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78669-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564en_US
dc.description.abstractในอดีต การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุถูกกำหนดให้ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวนั้นมีผลบังคับใช้กับ ส่วนราชการ ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุโดยใช้เงินงบประมาณ เงินกู้ และเงินช่วยเหลือ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ในต่างประเทศ เท่านั้น แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ทำให้หน่วยงานที่ไม่ได้ถูกบังคับใช้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับดังกล่าวจำเป็นต้องจัดทำข้อบังคับหรือระเบียบขึ้นเองเพื่อนำไว้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของตนเอง ต่อมา พบปัญหาจากการดำเนินการจัดหาพัสดุของหน่วยงานของรัฐหลายประเด็น เช่น นักลงทุนต่างประเทศที่จะเข้ามาร่วมประมูลในโครงการของหน่วยงานของรัฐไม่มีความเชื่อมั่นในระบบการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐของประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยนั้นไม่มีการออกกฎหมายกลางที่ใช้บังคับกับหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงทำให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง จัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐขึ้น โดยได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน และมีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ตอบแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงเกิดพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ที่มีผลใช้บังคับวันที่ 23 สิงหาคม 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และได้มีการออกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยพระราชบัญญัติและระเบียบกระทรวงการคลังดังกล่าว ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นเกิดความไม่คล่องตัวในการโอนพัสดุ เนื่องจากการจำกัดหน่วยงานผู้รับโอนเป็นการจำกัดที่ไม่สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่ต้องดำเนินการรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่มากกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ ทำให้เกิดการบริหารพัสดุที่มีอยู่อย่างไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งหน่วยงานผู้โอนและผู้รับโอน ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงเห็นว่า ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอนพัสดุสำหรับรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้การโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.156-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐen_US
dc.subjectพัสดุen_US
dc.titleปัญหาในการโอนพัสดุของรัฐวิสาหกิจตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornarongdech.s@chula.ac.th-
dc.subject.keywordการจัดซื้อจัดจ้างen_US
dc.subject.keywordการบริหารพัสดุen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2021.156-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380002334.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.