Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79053
Title: Seasonal variation of soil organic carbon stocks and sequestration rates in the CU Centenary Park
Other Titles: ความผันแปรตามฤดูกาลของปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินและอัตราการกักเก็บ ในอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Authors: Chanapa Julsiriwattanawong
Advisors: Pasicha Chaikaew
Pantana Tor-ngern
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Carbon sequestration -- Seasonal variations
Soils -- Carbon content
การกักเก็บคาร์บอน -- การผันแปรตามฤดูกาล
ดิน -- ปริมาณคาร์บอน
Issue Date: 2019
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: Urban areas are major contributors of CO₂ emissions, but at the same time greenspace in urban parks can offset CO₂ from the atmosphere and store carbon in vegetation and soils. The CU Centenary Park is designed to serve multi-functional purposes from an ecological aspect to human well-being. However, knowledge on the capacity of soils to store carbon that link to effects from seasonal variation, vegetation covers, and environmental factors is limited. Twenty seven soil samples were collected (0-15 cm) and were divided equally within three land cover types: tree, grass, and shrub. The sampling collection was conducted in September 2019 (represented the wet season) and December 2019 (represented the dry season). Soil organic carbon content was measured by the TOC analyzer. Soil temperature, soil moisture, pH, and bulk density were analyzed using standard methods. Between the dry and wet seasons, there was no difference of SOC stocks. Shrub soils dominantly expressed high SOC stocks over grass and tree (p-value < 0.001). While soil temperature and bulk density did not show statistically significance in the multiple linear regression model (p-value > 0.05), soil moisture was significantly positively influenced on SOC storage (p-value < 0.001) and can be a predictor for estimating SOC stocks. To offset more CO₂ from the atmosphere, the results suggested the proper vegetation planning and irrigation system to be placed in the park.
Other Abstract: พื้นที่เขตเมืองเป็นแหล่งที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ปริมาณมาก แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่สีเขียวของสวนสาธารณะในเมือง ก็สามารถช่วยลด CO₂ โดยการกักเก็บคาร์บอนไว้ในพืชและในดิน อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนอง การใช้งานหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ด้านนิเวศวิทยาไปจนถึงเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนของดิน และความเชื่อมโยงกับฤดูกาล ประเภทของพืชที่ปกคลุมดิน รวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในอุทยาน 100 ปียังมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้จึงออกแบบเก็บตัวอย่างดินชั้นบนจำนวน 27 ตัวอย่าง (0-15 ซม) โดยแบ่งเก็บจำนวนตัวอย่างเท่า ๆ กันภายในพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยพืชต่างกัน 3 ประเภท ได้แก่ ไม้ยืนต้น หญ้า และไม้พุ่ม การเก็บตัวอย่างได้ดำเนินการในเดือนกันยายน 2562 (เป็นตัวแทนฤดูฝน) และในเดือนธันวาคม 2562 (เป็นตัวแทนฤดูแล้ง) ปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินวิเคราะห์โดยเครื่อง TOC analyzer สำหรับค่าพารามิเตอร์เกี่ยวข้อง อุณหภูมิ, ความชื้น, ค่า pH และความหนาแน่นรวม ใช้วิธีมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ของดินในช่วงฤดูแล้งไม่แตกต่างจากฤดูฝน แต่พบว่า ดินในพื้นที่ไม้พุ่มมีการสะสมอินทรีย์คาร์บอนสูงกว่าในพื้นที่หญ้า (p-value <0.001) ผลการวิเคราะห์จากโมเดลแบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นแบบหลายเส้นแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิดินและความหนาแน่นรวม ไม่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (p-value > 0.05) ในขณะที่ ความชื้นในดินเป็นปัจจัยส่งเสริมต่อการกักเก็บอินทรีย์คาร์บอนอย่างมีนัยสำคัญ (p-value <0.001) และสามารถใช้ความชื้นดินในการพยากรณ์ค่าการสะสมอินทรีย์คาร์บอนในดิน งานวิจัยนี้เสนอให้นำปัจจัยด้านสิ่งปกคลุมดินและความชื้นในดินไปใช้วางแผนประเภทพืชพรรณที่ปลูกรวมถึง ระบบการจัดการน้ำที่เหมาะสมในอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชดเชยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นจากชั้นบรรยากาศ
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2562
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79053
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62-SP-ENVI-004 - Chanapa Julsiriwattanawong.pdf775.28 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.