Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจพล เบญจพลากร-
dc.contributor.authorณัฐฐาพร อะวิลัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:07:08Z-
dc.date.available2022-07-23T03:07:08Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79333-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractการศึกษาผลของการฝึกพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกัน แบ่งเป็นสองการศึกษา โดยศึกษาการทำงานสองชนิดที่ไม่ได้รับการฝึกฝนมาก่อน พร้อมกับว่านักกีฬามีความแตกต่างจากประชาชนทั่วไปหรือไม่ประการใด แล้วจึงทำการศึกษาผลการฝึกพิลาทิสที่มีต่อการทำงานสองชนิดพร้อมกันเปรียบเทียบในนักกีฬาฟุตซอล ดังนั้นในการศึกษาที่1 เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการทำงานเดี่ยว และการทำงานสองชนิดพร้อมกัน ระหว่างกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มนักกีฬาฟุตซอล อายุ 18-25 ปี ของมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต กลุ่มละ 24 คน โดยได้รับการทดสอบความสามารถในการทำงานเดี่ยว 3 รูปแบบ ได้แก่ ดัชนีการเซ ผลการลบเลขถอยหลังทีละ7 และผลการโยนบีนแบ็ค และความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกัน 2 รูปแบบ ได้แก่การทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไกพร้อมกับงานใช้ความคิด โดยวัดดัชนีการเซในการยืนขาเดียวพร้อมผลการลบเลข และการทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไก โดยวัดดัชนีการเซในการยืนขาข้างเดียวพร้อมผลการโยนบีนแบ็ค ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้ Independent sample t-test พบว่า การทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไกเท่านั้น ที่มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความเป็นนักกีฬามีผลต่อความสามารถในการทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไก ในการศึกษาที่ 2 ศึกษาผลของการฝึกโปรแกรมพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัว ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความสามารถในการทำงานเดี่ยว และความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลเพศชายจำนวน 26 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 13 คน; กลุ่มที่ 1 กลุ่มฝึกฟุตซอลตามโปรแกรมปกติ สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งๆละ 2 ชั่วโมง และกลุ่มที่ 2 กลุ่มฝึกพิลาทิสเสริมร่วมกับฝึกซ้อมฟุตซอลตามปกติ โดยฝึกพิลาทิสเสริมสัปดาห์ละ 2 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง แล้วทำการศึกษาตัวแปรด้านความสามารถในการทำงานเดี่ยว ได้แก่ ดัชนีการเซ การลบเลขถอยหลังทีละ7 และการโยนบีนแบ็ค และความสามารถในการทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไกพร้อมกับงานใช้ความคิด โดยวัดดัชนีการเซในการยืนทรงตัวพร้อมลบเลขถอยหลัง และการทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไก โดยวัดดัชนีการเซในการยืนทรงตัวพร้อมการโยนบีนแบ็ค ความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และความสมดุลของกล้ามเนื้อ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Independent T-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม และ Paired T-test ภายในกลุ่ม พบว่าภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มฝึกพิลาทิสเสริม มีกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่มีความแข็งแรงขึ้น สามารถรักษาสมดุลการทรงตัวได้ดี ความสามารถในการทำงานสองชนิดที่เป็นงานกลไกพร้อมกับงานใช้ความคิดในการลบเลขถูกต้อง และการทำงานสองชนิดที่ทั้งสองงานเป็นงานกลไก ค่าดัชนีการเซในการทรงตัว และผลการโยนบีนแบ็คเข้าเป้าหมาย แตกต่างจากกลุ่มฝึกฟุตซอลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การฝึกพิลาทิสเสริมให้กับนักกีฬาฟุตซอลชายระดับมหาวิทยาลัย มีส่วนช่วยเสริมความมั่นคงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ความสามารถรักษาสมดุลการทรงตัว ซึ่งทำให้สามารถลดทรัพยากรความตั้งใจในการทรงตัวไปให้กับงานที่สองได้มากขึ้น ลดการขัดขวางจากงานที่สอง ทำให้ความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกันทั้งสองรูปแบบดีขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThe study on the effects of Pilates training on balance and dual task performance was divided into two study, that is, to study the nature of dual task performance using untrained tasks if there were any differences between athletes and non-athlete population, then investigate the effects of Pilates training on dual task performance among futsal players themselves. Therefore the first study was carried out to compare untrained-tasks performance of single tasks to dual-tasks between 18-25 years old male non-athlete population group and male futsal players group from Kasem Bundit University. Twenty four subjects from each group were subject to three single tasks, namely, single leg standing on bio-sway platform, serial sevens, and bean bag throwing, and two dual-tasks, namely, motor-cognitive dual-task of single leg standing on bio-sway platform while performing serial sevens, and motor-motor dual-task of single leg standing on bio-sway platform while throwing bean bags. It was found from independent-samples T test that only motor-motor dual-task performance was statistically different between both groups, which showed that athletic had effects on motor-motor dual-task performance. Then the second study was carried out to determine the effects of Pilates training on core-muscle stability, balance capability, and dual-task performance among male university futsal players. Twenty-six players were divided selectively and equally into two groups with insignificant differences in demographics, physical fitness and performance between groups. The first group, FG – Futsal Group, was subject to normal futsal training program three to four two-hour sessions per week, while the second group, PG – Pilates Group was subject to additional one-hour Pilates training twice a week. After six weeks, post-test results were compared to those of pre-test covering core-muscle stability, balance capability, single task performance, dual-task performance using independent-samples T test and paired-samples T test. It was found that PG had significantly better core-muscle stability and balance capability than FG, with corresponding significantly better motor-cognitive dual-task of single leg standing on bio-sway platform with better serial sevens correctness, and significantly better motor-motor dual-task of single leg standing on bio-sway platform with better bio-sway index and bean bag throwing accuracy, at 0.05 level of significance. It could be concluded that supplementary Pilates training in male university futsal players has satisfactorily enhanced core-muscle stability and balance capability, thereby effectively reduced attentional resources in keeping dynamic balance while allocating more attention to the second task to lessen dual-task interference and improve both types of dual-task performance-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.829-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectพิลาทีส-
dc.subjectการทรงตัว-
dc.subjectฟุตซอล-
dc.subjectPilates method-
dc.subjectEquilibrium (Physiology)-
dc.subjectIndoor soccer-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการฝึกพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวและความสามารถในการทำงานสองชนิดพร้อมกันของนักกีฬาฟุตซอลชายระดับมหาวิทยาลัย-
dc.title.alternativeEffects of pilates training on balance and dual task performance of university male futsal players-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.829-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6078602439.pdf8.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.