Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79337
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนภัสกร ชื่นศิริ-
dc.contributor.authorธเนศ จินดา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2022-07-23T03:07:12Z-
dc.date.available2022-07-23T03:07:12Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79337-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อยและแบบดั้งเดิมที่มีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการทรงตัวในผู้สูงอายุ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพแข็งแรง อายุเฉลี่ย 62.64±2.46 ปี จำนวน 29 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบดั้งเดิม จำนวน 14 คน (ชาย 2 คน) และกลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อย จำนวน 15 คน (ชาย 2 คน) โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น แบ่งตามอายุ เพศ และการทดสอบ ยืน-นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยกลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบดั้งเดิม ฝึกที่ความหนักร้อยละ 50 ถึง 80 ของความแข็งแรงสูงสุด จำนวนครั้ง : 10 ถึง 14 ครั้ง จำนวนเซต : 3 เซต และพักระหว่างเซต : 120 วินาที กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อย ฝึกที่ความหนักร้อยละ 50 ถึง 80 ของความแข็งแรงสูงสุด จำนวนครั้ง : 14 (7, 7), 12 (6, 6), 10 (5, 5) ครั้ง จำนวนเซต : 3 เซต พักระหว่างการออกแรง : 20 วินาที และพักระหว่างเซตการฝึก : 100 วินาที ก่อนและหลังการฝึก 12 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยา องค์ประกอบของร่างกาย ความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัวทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้โปรแกรม SPSS version 22 และทดสอบการกระจายตัวโดยใช้ The Shapiro-wilk และ Levene’s test ตามลำดับ โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มด้วย และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยหลังการทดลองระหว่างกลุ่มด้วย กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย หลังการฝึก 12 สัปดาห์ กลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบดั้งเดิมและกลุ่มฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อยมีแรงเหยียดขาและงอขา แรงเหยียดแขนและงอแขน แรงเหยียดตัวและงอตัว จำนวนครั้งในการงอแขนยกน้ำหนัก 30 วินาที ยืน- นั่ง บนเก้าอี้ 30 วินาที จำนวนครั้งในการงอแขนนอนหงายยกลำตัว 60 วินาที การทรงตัวขณะหยุดนิ่งเพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม และมีเวลาในการยืนเดินนั่ง ไป-กลับลดลงทั้ง 2 กลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อย สามารถพัฒนาความแข็งแรงทนทานของกล้ามเนื้อ การทรงตัวขณะหยุดนิ่ง และขณะเคลื่อนไหว ในผู้สูงอายุได้ เช่นเดียวกับการฝึกด้วยแรงต้านแบบดั้งเดิม โดยไม่เกิดการล้าจนเกินไปและลดการบาดเจ็บขณะออกกำลังกายในผู้สูงอายุ-
dc.description.abstractalternativePurpose To study and compare the effects of cluster set and traditional resistance training on muscular function and balance in elderly Methods Twenty-nine healthy elderly, aged between 62.64±2.46 years were participated in this study. They were matched by sex, age and sit to stand 30 second test and were divided into traditional set resistance training group (TSRT) (n=14, male=2) and cluster set resistance training group (CSRT) (n=15, male=2). Both groups performaned resistance exercise 2 sessions/week for 12 weeks. The TSRT group using intensity at 50-80% 1RM, 10-14 repetition, 3 set and inter-set rest 120 seconds while the CSRT group using intensity at 50-80% 1RM, 14 (7, 7), 12 (6, 6), 10 (5, 5) repetition, 3 set, intra-set rest 20 seconds and inter-set rest 100 seconds. General characteristic, body composition, muscle strength and endurance, static balance and dynamic balance were measured before and after 12 weeks of the study. Data were analyzed in term of means and standard deviation by using pair t-test and independent t-test. The statistical significance was accepted at p<0.05. Results After 12 weeks, the TSRT group and the CSRT group showed significant improvements on leg extension and flexion, arm extension and flexion, trunk extension and flexion, arms curl 30 seconds, sit up 60 seconds, sit to stand 30 seconds and both groups had significantly decrease time of time up and go test. (p < .05). Conclusion The cluster set resistance training program could be improve muscular strength and endurance and static and dynamic balance in elderly as well as the traditional and It also reduce muscle fatigue and injury during training session in elderly-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.833-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectกายบริหาร-
dc.subjectการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ-
dc.subjectการทรงตัว-
dc.subjectExercise for older people-
dc.subjectEquilibrium (Physiology)-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการฝึกด้วยแรงต้านแบบแบ่งเซตย่อยที่มีต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและการทรงตัวในผู้สูงอายุ-
dc.title.alternativeEffects of cluster set resistance training on muscular function and balance in elderly-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.833-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6178304539.pdf6.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.