Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79621
Title: | การพัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา |
Other Titles: | Development of entrepreneurship curriculum with online learning to promote entrepreneurship for students on higher education institutions |
Authors: | พรประสิทธิ์ เด่นโมฬี |
Advisors: | สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์ อัจฉรา จันทร์ฉาย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | การวางแผนหลักสูตร ผู้ประกอบการ -- การศึกษาและการสอน การเรียนการสอนผ่านเว็บ Curriculum planning Businesspeople -- Study and teaching Web-based instruction |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของหลักสูตรผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ และแนวคิดผู้ประกอบการนิสิตนักศึกษา 2) วิเคราะห์ความต้องการหลักสูตรผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 3) พัฒนาหลักสูตรผู้ประกอบการด้วยการเรียนผ่านออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ 1) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรผู้ประกอบการระดับปริญญาตรี จำนวน 8 คน 2) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรผู้ประกอบการระดับปริญญาโท จำนวน 9 คน 3) ผู้บริหารที่เปิดหลักสูตรฝึกอบรมผู้ประกอบการะยะสั้นจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 คน 4) ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับความต้องการต่อหลักสูตรผู้ประกอบการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน 5) ผู้ประกอบการที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 คน 6) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 390 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตาตามประเภทมหาวิทยาลัยและเลือกมหาวิทยาลัยในแต่ละกลุ่มอย่างละ 1 แห่งใน 4 ภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินและแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของหลักสูตรผู้ประกอบการในประเทศ พบว่า หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการทั้งระดับปริญญาตรีและโทในประเทศ ส่วนใหญ่ในมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ภายใต้คณะวิทยาการจัดการ/คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี/คณะเทคโนโลยีการจัดการ และรายวิชาส่วนใหญ่มาจากหลักสูตรบริหารธุรกิจ แสดงให้เห็นว่า หลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการในมหาวิทยาลัยของรัฐไม่ได้เป็นหลักสูตรเฉพาะที่จะไปส่งเสริมให้ไปเป็นผู้ประกอบการที่จะเริ่มต้นธุรกิจ (Startup) ดังนั้น ควรมีหลักสูตรเฉพาะที่จะส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการให้แก่นิสิตนักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ 2) ผลการวิเคราะห์ความต้องการหลักสูตรผู้ประกอบการ พบว่า ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ และนิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะให้เปิดหลักสูตรผู้ประกอบการ ที่เป็นหลักสูตรระยะสั้นและใช้เวลาในการเรียนรายวิชาละ 1-2 ชั่วโมง และวิชาที่นิสิตนักศึกษาส่วนใหญ่สนใจจะเรียน 5 อันดับแรก ได้แก่ การตลาด การเป็นผู้ประกอบการ การวางแผนทางธุรกิจ การเงิน และการจัดการกลยุทธ์ 3) หลักสูตรผู้ประกอบการสำหรับนิสิตนักศึกษาประกอบด้วย 5 ชุดวิชา ได้แก่ ผู้ประกอบการ 5.0 การตลาด 5.0 การเงิน 5.0 การบริหารการปฏิบัติการ 5.0 และการเขียนแผนธุรกิจยุค 5.0 ภาพรวมนิสิตนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรวมทั้ง 5 วิชา ร้อยละ 75.27 และวิชาการเงิน 5.0 มีคะแนนมากที่สุด ร้อยละ 83.36 ผลทดสอบความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจก่อนเรียนและหลัง ร้อยละ 55.86 และร้อยละ 75.57 ตามลำดับ โดยผลการทดสอบความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจต่อหลักสูตรผู้ประกอบการอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.57, SD = 0.57) ผลการวิจัยอธิบายได้ว่าหลักสูตรผู้ประกอบการที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แอดดี้โมเดลมีความเหมาะสมและสามารถเตรียมความพร้อมนิสิตนักศึกษาในการเริ่มต้นธุรกิจได้ |
Other Abstract: | The objectives of this research were to study the current state of entrepreneurship programs in Thailand and oversea and Concept of Entrepreneur Student ;to determine the need for entrepreneurship programs among undergraduate students and, to develop an online entrepreneurship program and promote entrepreneurship for students on higher education institution. Six sample groups were used : (1) eight administrators at universities where undergraduate entrepreneurship programs are offered; (2) nine administrators at universities where graduate entrepreneurship programs are offered; (3) 3 administrators from Department of Promotion and University Business Incubator where short-term entrepreneurship training courses are offered; (4) 15 purposively sampled administrators at universities of the demand for entrepreneurship programs; (5) 20 purposively sampled entrepreneurs; and (6) 390 quota sampled undergraduate students from each university category in each of the four regions of the country. The tools used were questionnaires, interview, assessments and tests. Data analysis was conducted through content review. The statistics used were percentage, average, standard deviation, and t-test. Firstly, the current state of entrepreneurship programs in Thailand both bachelor's and master's degrees, most of the public universities are under the Faculty of Management Science/Faculty of Commerce/Faculty of Management Technology and most of the courses are from business administration courses. Entrepreneurship programs in public universities do not encourage entrepreneurs to start a business. Therefore, there should be a specific course that will truly promote entrepreneurship for students to have the opportunity to learn. Secondly, it was determined that most administrators, entrepreneurs and students are in need of short-term entrepreneurship programs where each subject requires one to two hours of study. The five subjects the majority of students are interested in are marketing, entrepreneurship, business planning, finance, and strategy management. Thirdly, the entrepreneurship program comprised five subjects: Entrepreneurship 5.0, Marketing 5.0, Finance 5.0, Operations Management 5.0, and, Business Plan Writing 5.0. The students had an overall academic achievement of 75.27% with Finance 5.0 being the subject of the highest score of 83.36%. Students had preliminary business knowledge of 55.86% and 75.57%, before and after the program, respectively, resulting in a significant difference at the level of 0.05. Thirdly, the level of satisfaction towards the entrepreneurship program is high (Mean = 3.57, SD = 0.57). From these research findings, it can be inferred that an entrepreneurship program developed using the ADDIE model is suitable and capable of preparing students for the launch of a business. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | อุดมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79621 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1167 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1167 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5884246027.pdf | 39.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.