Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79626
Title: | การพัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสำหรับสถานศึกษาเฉพาะทาง |
Other Titles: | Development of big five-factor personality scales for specific purpose schools |
Authors: | นุรซีตา เพอแสละ |
Advisors: | ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Subjects: | แบบทดสอบบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การประเมินบุคลิกภาพ NEO Five-Factor Inventory Personality assessment |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสำหรับสถานศึกษาเฉพาะทางระดับปริญญาตรี โดยประยุกต์ใช้แบบวัดบังคับเลือกพหุมิติแบบคู่เทียบและโมเดลการตอบสนองพหุมิติแบบคู่เทียบ 2) ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรง ความเที่ยง และการป้องกันการตั้งใจบิดเบือนคำตอบ และ 3) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดที่พัฒนาขึ้น โดยมีตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนในสถานศึกษาเฉพาะทางระดับปริญญาตรีจำนวน 1,300 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและการเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบรูปแบบพหุมิติแบบคู่เทียบ 2) แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบรูปแบบมาตรประมาณค่า และ 3) แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ The Next Big Five Inventory: BFI2 (Soto & John, 2017) การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดประกอบด้วย การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เมทริกซ์พหุลักษณะ-พหุวิธี ตรวจสอบความเที่ยงโดยการทดสอบซ้ำและการใช้ค่า Marginal Reliability การตรวจสอบคุณภาพด้านการป้องกันการตั้งใจบิดเบือนคำตอบโดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง รวมทั้งการสร้างเกณฑ์ปกติโดยใช้คะแนนสเตไนน์ ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ ได้แก่ การแสดงออกอย่างเปิดเผย ความประนีประนอม การมีจิตสำนึก อารมณ์เชิงลบ และการมีจิตใจที่เปิดกว้าง แบบวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบพหุมิติแบบคู่เทียบประกอบด้วยคู่ของข้อความแต่ละองค์ประกอบที่จับคู่กันตรงตามเงื่อนไขทั้งหมด 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับอยู่ที่ .91 การตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์พบว่าคะแนนบุคลิกภาพกับเกณฑ์ขั้นสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.05 การตรวจสอบความตรงเชิงทฤษฎีพบหลักฐานสนับสนุนความตรงแบบลู่เข้าและไม่พบหลักฐานการเกิดความลำเอียงของวิธีการวัด การตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงโดยวิธีการทดสอบซ้ำและการใช้ค่า Marginal Reliability มีค่าในช่วง .49 - .85 แสดงให้เห็นว่าความเที่ยงของแบบวัดที่พัฒนาขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ในทุกองค์ประกอบ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพด้านการป้องกันการตั้งใจบิดเบือนคำตอบพบว่า แบบวัดบังคับเลือกสามารถควบคุมการตั้งใจบิดเบือนคำตอบได้ดีกว่าแบบวัดรูปแบบมาตรประมาณค่า โดยสามารถลดอัตราการเปลี่ยนแปลงคำตอบ อัตราการเฟ้อของคะแนน การเปลี่ยนแปลงของผลการจัดอันดับและผลการคัดเลือกได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม การใช้แบบวัดรูปแบบบังคับเลือกยังไม่สามารถกำจัดอิทธิพลของการตั้งใจบิดเบือนคำตอบของผู้ตอบแบบวัดได้อย่างสมบูรณ์ 3) เกณฑ์ปกติของแบบวัดโดยใช้วิธีการหาคะแนนสเตไนน์ แบ่งระดับบุคลิกภาพออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำ กลาง และสูง โดยการแสดงออกอย่างเปิดเผยมีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ -.093 และ .374 ความประนีประนอม -1.42 และ -.114 ความมีจิตสำนึก -.287 และ .459 อารมณ์เชิงลบ -.785 และ .218 การมีจิตใจที่เปิดกว้าง -.178 และ .507 |
Other Abstract: | The aims of this research were to (1) develop big five-factor personality scales for specific purpose schools using multidimensional pairwise preference format and multi-unidimensional unfolding item response theory (2) investigate the quality of developed scales including reliability, validity, and its resistance to faking effect (3) develop evaluation criteria. The data was gathered from 1,300 students in specific purpose schools by using multi-stage random sampling and purposive sampling. Research instruments were (1) pairwise preference-based big-five factor personality scales (2) rating scale-based big five-factor personality scales, and (3) The next big five inventory: BFI2 (Soto & John, 2017). Content validity, criterion-related validity, construct validity using multitrait-multimethod analysis, test-retest reliability, and marginal reliability were used to evaluate scales' reliability and validity. A quasi-experimental design was adopted to determine its resistance to faking effect. Also, evaluation criteria were analyzed using stanines scores. Findings were presented as follows: 1) Five-factor personalities are Extraversion, Agreeable, Conscientiousness, Negative Emotionality, and Open-Mindedness. The developed scales consisted of pairs of items according to all conditions. 2) Content validity had a CVI of .91. Evidence of relation with other variables had shown the sound of personality scores. The results also supported the construct validity with acceptable convergent validity and without method bias. To conduct reliability, the results of test-retest and marginal reliability of .49-.85. An experiment comparing the resistance of the developed personality test to faking with that of rating scale-based personality test showed an advantage of pairwise preference-based big five-factor personality scales. Nevertheless, pairwise preference-based scales were unable to eliminate faking effect. 3) Personality scores were divided into 3 levels of stanines scores consisting of an inferior, moderate, and dominant personality. The cut-off scores of each factor were -.093 and .374 for Extraversion, -1.42 and -.114 for agreeable, -.287 and .459 for Conscientiousness, -.785 and .218 for Negative Emotionality, and -.178 and .507 for Open-Mindedness. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | การวัดและประเมินผลการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79626 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.530 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.530 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5984236927.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.