Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79666
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นันทรัตน์ เจริญกุล | - |
dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | - |
dc.contributor.author | วีรยศ เอกรัตน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T04:31:08Z | - |
dc.date.available | 2022-07-23T04:31:08Z | - |
dc.date.issued | 2564 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79666 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาครู ประสิทธิผลการสอน และความเจริญงอกงามของนักเรียน 2) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน 3) พัฒนากลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed methods design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาที่เปิดสอนชั้น ม.1 - ม.6 สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 258 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครู 516 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการพัฒนาครู ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ (1) การอบรม (2) การใช้ระบบพี่เลี้ยง (3) การชี้แนะ (4) การนิเทศติดตามและประเมินผล กรอบแนวคิดประสิทธิผลการสอน มี 5 ด้าน คือ (1) การใช้วิธีการสอนที่เหมาะสม (2) การเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ (3) การติดตามกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างใกล้ชิด (4) การจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ (5) ความรอบรู้ในเรื่องที่สอน และกรอบแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน ประกอบไปด้วย 2 ด้านคือ (1) ความก้าวหน้าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) ความก้าวหน้าด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 9 องค์ประกอบ คือ (1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (2) ซื่อสัตย์สุจริต (3) มีวินัย (4) ใฝ่เรียนรู้ (5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน (7) รักความเป็นไทย (8) มีจิตสาธารณะ และ (9) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม มี 4 ประการ ได้แก่ (1) จุดแข็งของประสิทธิผลการสอน คือ ความรอบรู้ในเรื่องที่สอน การติดตามกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และ การจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ จุดอ่อน คือ การเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่พึงประสงค์ และ การใช้วิธีการสอนที่เหมาะสม (2) จุดแข็งของความเจริญงอกงามคือ ความเจริญงอกงามด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยมี รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ รักความเป็นไทย อยู่อย่างพอเพียง (เป็นจุดแข็งในประเด็นย่อย และ มุ่งมั่นในการทำงาน มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ การเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีจิตสาธารณะ ซื่อสัตย์สุจริต เป็นจุดอ่อนในประเด็นย่อย) จุดอ่อนคือ ความเจริญงอกงามด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (3) จุดแข็งของการพัฒนาครูคือ การนิเทศติดตามและ การชี้แนะ จุดอ่อนคือ การใช้ระบบพี่เลี้ยง การอบรม (4) โอกาส คือ ด้านเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ ด้านสภาพเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ และ ด้านสภาพสังคม 3) กลยุทธ์ มี 5 กลยุทธ์หลัก 10 กลยุทธ์รอง ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1 เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่พึงประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการสอน กลยุทธ์หลักที่ 2 ออกแบบวิธีการสอนที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการสอน กลยุทธ์หลักที่ 3 พลิกโฉมการจัดการชั้นเรียนเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการสอน กลยุทธ์หลักที่ 4 สร้างกลไกการติดตามกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างใกล้ชิดเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการสอน กลยุทธ์หลักที่ 5 ยกระดับประสิทธิผลความรอบรู้ในเรื่องที่สอน | - |
dc.description.abstractalternative | This research aims to 1) study the conceptual framework of teacher development methods, teaching effectiveness, and student growth; 2) analyze the strengths, weaknesses, opportunity, and threats in secondary schools for teaching effectiveness development based on the concept of student growth; and 3) develop teaching effectiveness development based on the concept of student growth. A multiphase mixed methods design consisting of qualitative research and quantitative research was selected. The samples were 258 secondary schools providing for Mattayomsuksa 1 - 6 students under the Office of the Basic Education Commission, the Ministry of Education. Informants were 516 teachers. The research instruments were the conceptual framework assessment form, a questionnaire, a form of suitable and feasible of strategy assessment, and an expert group discussion. Descriptive statistics were used to analyze the data such as frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), needs assessment index (PNImodified), and content analysis. The study revealed that 1) teacher development framework consists of (1) training, (2) mentoring, (3) coaching, and (4) supervision and evaluation, 2) teaching effectiveness framework consists of (1) exerting the use of appropriate instructional method, (2) encouraging a desirable learning environment, (3) engaging and analyzing student learning processes, (4) executing an effective classroom, and (5) expertise in knowledge of teaching; and 3) student growth framework consists of (1) the amount of change in academic progress, and (2) the amount of change in desirable characteristics consisting of 1) love of nation, religion and the monarchy, (2) honesty and integrity, (3) self-discipline, (4) avidity for learning, (5) applying principles of sufficiency economy philosophy in one’s way of life, (6) dedication and commitment to work, (7) cherishing Thai nationalism, (8) public-mindedness; and (9) perceived self-efficacy, 2) four factors on strengths, weaknesses, opportunities, and threats are (1) teaching effectiveness, the strengths are expertise in knowledge of teaching, engaging and analyzing student learning processes and executing an effective classroom while weaknesses are encouraging a desirable learning environment and exerting the use of appropriate instructional method; (2) student growth, the strengths is the amount of change in desirable characteristics with the divided strength points of love of nation, religion and the monarchy; cherishing Thai nationalism, applying principles of sufficiency economy philosophy in one’s way of life while dedication and commitment to work, self-discipline; avidity for learning, perceived self-efficacy; public-mindedness, and honesty and integrity are the weakness points; the weakness is the amount of change in academic progress, (3) teacher development; the strengths are supervision and evaluation and coaching while weaknesses are mentoring and training, (4) technological factor is only opportunity whereas threats are economic factor, political factor, and socio-cultural factor, 3) the strategies of secondary schools for teaching effectiveness development based on the concept of student growth consist of 5 core strategies and 10 sub-strategies: 1) enhancing a desirable learning environment to increase teaching effectiveness; 2) planning an appropriate instructional method to increase teaching effectiveness; 3) redesigning a classroom management to increase teaching effectiveness; 4) establishing approaches to engagedly and analytically monitor student learning processes to increase teaching effectiveness; 5) advancing the effectiveness of knowledge. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.722 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร | - |
dc.subject | ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ | - |
dc.subject | High schools -- Administration | - |
dc.subject | Instructional systems -- Design | - |
dc.subject.classification | Social Sciences | - |
dc.title | กลยุทธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิผลการสอนตามแนวคิดความเจริญงอกงามของนักเรียน | - |
dc.title.alternative | Strategies of secondary schools for teaching effectiveness development based on the concept of student growth | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2021.722 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6184467027.pdf | 14.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.