Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79715
Title: การพัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์
Other Titles: Development of rubrics for assessing performance on Thai percussion instruments: an application of many-facet rasch measurement partial credit model
Authors: ภูรินท์ เทพสถิตย์
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ และ (2) ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ ตัวอย่างวิจัย คือ (1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี 4 ชนิด ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จำนวน 84 คน และ (2) ผู้ประเมินทักษะดนตรีไทยที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการอบรม จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือวิจัย คือ รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี ประกอบด้วยเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน โดยแต่ละข้อรายการประเมินจะประกอบไปด้วยระดับคุณภาพ 5 ระดับ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) การสังเคราะห์และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี (2) การทดลองใช้รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี และ (3) การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ผ่านฟาเซตที่เกี่ยวข้อง 4 ฟาเซต ได้แก่ ฟาเซตนักเรียน ฟาเซตผู้ประเมิน ฟาเซตเครื่องดนตรี และฟาเซตข้อรายการประเมิน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่พัฒนาด้วยโมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ มีลักษณะเป็นรูบริกที่มีเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน มีระดับคุณภาพของข้อรายการประเมินหลังการปรับปรุงประสิทธิผลจาก 5 ระดับเป็นจำนวน 2 ถึง 3 ระดับ รูบริกถูกพัฒนาเป็นคู่มือการใช้รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยที่ประกอบด้วย (1) คำชี้แจงการใช้รูบริก ขอบเขตของทักษะที่เป็นเป้าหมายของการใช้รูบริกและกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับการใช้รูบริก (2) ภาระงานที่กลุ่มเป้าหมายต้องปฏิบัติ (3) ข้อตกลงเบื้องต้นและข้อควรคำนึงก่อนการใช้รูบริก (4) นิยามเชิงปฏิบัติการของเกณฑ์และข้อรายการประเมิน (5) รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย และ (6) การแปลผลการประเมิน 2. รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่พัฒนาด้วยโมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ แสดงถึงคุณภาพของคุณสมบัติทางจิตมิติที่ครบถ้วน โดยมีดัชนี IOC บ่งชี้ถึงความตรงเชิงเนื้อหา แสดงให้เห็นถึงการมีเนื้อหาของข้อรายการประเมินและคำอธิบายที่ครอบคลุมทักษะที่ต้องการประเมิน ความสอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลของฟาเซตทั้ง 4 ฟาเซต ค่า point-measure correlation ของฟาเซตข้อรายการประเมิน และดัชนีประสิทธิผลระดับคุณภาพ บ่งชี้ถึงความตรงเชิงโครงสร้าง แสดงให้เห็นถึงความสามารถของรูบริกในการประเมินทักษะไปในทิศทางเดียวกัน และผล Chi-square ฟาเซตนักเรียน (random (X2) = 56.6, df = 77, p > .01) และผู้ประเมิน (random (X2)= 4.9, df = 4, p > .01) ดัชนีคุณภาพฟาเซตนักเรียน ผู้ประเมิน และข้อรายการประเมิน และความสอดคล้องของการประเมินระหว่างผู้ประเมิน บ่งชี้ถึงความเที่ยงของรูบริกและช่วยยืนยันความคงที่ของความตรงเชิงโครงสร้างของการนำรูบริกไปใช้
Other Abstract: The purposes of this study were (1) to develop the rubrics for assessing Thai music performance using the Many-facet Rasch measurement partial credit model and (2) to evaluate the psychometric properties of a rubrics for assessing Thai music performance using the Many-facet Rasch measurement partial credit model. Samples were (1) 84 secondary students who played 4 Thai classical instruments including Ranad Eak, Ranad Thum, Khong Wong Yai and Khong Wong Lek; and (2) 6 trained raters who had experiences in Thai music performance. The 8 criterion and 12 item rubrics for assessing Thai music performance included 5 categories for each item that was used in this study. The research method of this study was separated into 3 part including (1) synthesis and content validity evaluation of the rubrics, (2) tryout and (3) the psychometric properties evaluation of the rubrics. The data were analyzed using the Many-facet Rasch measurement partial credit model across 4 facets including student, rater, instrument, and item. Results revealed that 1. The rubrics for assessing Thai music performance developed by using the Many-facet Rasch measurement partial credit model contained 8 criterion and 12 item ranging from 2 to 3 categories for each item that reduced from 5 categories after category effectiveness analyses. The rubrics was developed to be the guidelines of using the rubrics for assessing Thai music performance including (1) the explanation of rubrics, target of performance and target of student, (2) performance task, (3) assumption and remark of the rubrics, (4) operational definitions of criterion and items, (5) the rubrics for assessing Thai music performance and (6) interpretation of the assessment result  2. The rubrics for assessing Thai music performance developed by using the Many-facet Rasch measurement partial credit model indicated a full quality of the psychometric properties. IOC index indicated the content validity of the rubric which meant there was representation of content for assessing the performance.  The results of fit statistics across 4 facets, facet quality index of rater and item facet, point-measure correlation of item facet and category effectiveness index indicated the construct validity of the rubrics which meant the rubrics had ability to measure along the performance. Chi-square of student (random (X2) = 56.6, df = 77, p > .01) and rater facet (random (X2) = 4.9, df = 4, p > .01), facet quality index of student rater and items facet and inter-agreement of raters indicated reliability of the rubrics and confirmed reproducibility of construct validity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79715
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.883
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.883
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380130127.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.