Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79727
Title: | การพัฒนาการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารของนักเรียนมัธยมศึกษา |
Other Titles: | Development of health education learning using creative problem solving model to enhance learning achievement and communication skills for secondary school students |
Authors: | พิชาธรณ์ เผือกเชาวไว |
Advisors: | จินตนา สรายุทธพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารก่อน และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหา อย่างสร้างสรรค์และของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสื่อสารหลัง การทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ กับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 80 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องรวมเท่ากับ 0.83 และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.83, 0.94, 1, และ 0.98 ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารด้วยค่า ที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านเจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารของกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และทักษะการสื่อสารของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was: 1) to compare mean scores of learning achievement and communication skills before and after the implementation of the Health Education Learning Management Using Creative Problem-Solving Model of an experimental group students and a control group students, and 2) to compare mean scores of learning achievement and communication skills after implementation of the Health Education Learning Management Using Creative Problem-Solving.Model between the experimental group students and the control group students. The participants were 80 eleventh grade students who were selected randomly and divided equally into 2 groups. The experimental group was assigned to study through the Health Education Learning Management Using Creative Problem-Solving Model and the control group was assigned to study with the traditional teaching method. The research instruments were comprised of 8 health education lesson plans using the Creative Problem-Solving Model with an IOC of 0.83 and the data collection instruments included learning achievements in the area of knowledge, attitude, practice and communication skills test with IOC of an 0.83, 0.94, 1, and 0.98. The duration of the experiment was 8 weeks. Data were analyzed by mean score, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) The mean score of learning achievement in the knowledge, attitude, practice and communication skills of the experimental group students after learning were significantly higher than before learning at .05 level.The knowledge of the control group after the experiment was significantly higher than before at the .05 level, but the mean scores in the area of attitude, practice and communication skills of the control group after the experiment were not different from before with statistical significance at the .05 level. 2) The mean scores of the learning achievement and communication skills of the experimental group students after learning were significantly higher than the control group students at a .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษาและพลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79727 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1101 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2021.1101 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6380231927.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.