Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80259
Title: แรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล
Other Titles: Work motivation of personal secretary
Authors: รัชดา คำรักษ์
Advisors: วันชัย มีชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคลแต่ละประเภท 2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการสร้างแรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ) ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือเลขานุการส่วนบุคคล 3 ประเภท ได้แก่ เลขานุการผู้บริหาร เลขานุการโดยตำแหน่ง และเลขานุการส่วนตัว รวมจำนวน 90 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยเลขานุการส่วนบุคคล ประเภทละ 3 คน รวมจำนวน 9 คน สำหรับผลการศึกษาพบว่า 1) ในภาพรวม เลขานุการโดยตำแหน่งมีแรงจูงใจในการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ เลขานุการส่วนตัว และเลขานุการผู้บริหาร 2) ในรายด้าน เลขานุการแต่ละประเภทมีแรงจูงใจในระดับมากที่สุดที่แตกต่างกัน เลขานุการผู้บริหารคือด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน เลขานุการโดยตำแหน่งคือด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และเลขานุการส่วนตัวคือด้านการยอมรับนับถือ 3) ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างด้วยสถิติเชิงอนุมานพบว่า เลขานุการส่วนบุคคลแต่ละประเภทมีแรงจูงใจที่แตกต่างกันทางด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ 4) จากข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นเพิ่มเติมรวมถึงการสัมภาษณ์ พบว่าปัจจัยด้านการปกครองบังคับบัญชาเป็นแรงจูงใจสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการทำงานอาชีพเลขานุการส่วนบุคคล ดังนั้น นอกเหนือจากการส่งเสริมปัจจัยจูงใจด้านการทำงาน องค์กรควรให้ความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ รวมถึงปัจจัยทางด้านผู้บริหารระดับสูงให้แก่ผู้ทำงานอาชีพนี้ด้วย
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study the work motivation of personal secretary profession in each type, and 2) to study the recommendations for promoting work motivation of personal secretary profession. This research used a mixed methods research design (through quantitative and qualitative research). The sample consisted of 3 types of personal secretaries, namely executive secretaries; position secretaries and personal secretaries, totaling 90 persons. Key informants consisted of 3 personal secretaries of each type, totaling 9 persons. The major findings indicated that 1) Overall, the position secretaries had the highest level of work motivation among three types, followed by personal secretaries, and lastly executive secretaries. 2) When considering each aspect, there were the differences in highest level of work motivation among three types of secretaries. For executive secretaries, successful performance was at the highest level. For position secretaries, nature of the work was at the highest level. For personal secretaries, recognition was at the highest level.3) The results of the difference analysis using inferential statistics revealed that there were the differences in nature of the work, work advancement, and compensation and welfare among three types of secretaries. 4) From additional suggestions and opinions including interviews, the supervision was one of important factors affecting work motivation of personal secretary profession. In addition to promoting work motivation factors, organizations should emphasize on building morale and encouragement including senior management factors for those working in this profession as well.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80259
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.453
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.453
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280113624.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.