Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80261
Title:  ผลของการนำระบบการรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ออนไลน์ไปใช้ในงานรับเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม : กรณีศึกษาศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
Other Titles: The effect of online complaints/grievance system in managing complaints/grievances of the Damrongtham Center : a case study of the Ministry of Interior's Damrongtham Center, Inspection and Grivances Bureau, Office of the minister
Authors: กันต์ธีร์ แสงกล้า
Advisors: ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยในครั้งนี้นั้นเป็นการศึกษาในเรื่อง “ผลของการนำระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ไปใช้ในงานรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ของศูนย์ดำรงธรรม : กรณีศึกษาศูนย์ดำรงธรรมกระทรวงมหาดไทย สำนักตรวจราชการและเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาในประเด็นดังนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ โดยพิจารณาจากร้อยละของจำนวนเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ที่ได้รับผ่านทางระบบออนไลน์ที่สามารถยุติเรื่องได้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ของศูนย์ดำรงธรรม และ 3) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ของศูนย์ดำรงธรรม โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งได้กำหนดขอบเขตการวิจัย โดยการศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ โดยพิจารณาจากร้อยละของความสำเร็จในการยุติเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านช่องทางออนไลน์ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการรับเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ ดังกล่าว รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการเรื่องร้องเรียน / ร้องทุกข์ผ่านระบบการรับเรื่อง ร้องเรียน / ร้องทุกข์ออนไลน์ของศูนย์ดำรงธรรม ตามองค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบไปด้วยปัจจัย ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware Resources) 2) ปัจจัยด้านซอฟท์แวร์ (Software Resources) 3) ปัจจัยด้านบุคลากร (People Resources) 4) ปัจจัยด้านข้อมูล (Data Resources) 5) ปัจจัยด้านเครือข่าย (Network Resources)
Other Abstract: This research is a study of “The effect of online complaints / grievance system in managing complaints / grievances of the Damrongtham Center : a case study of the ministry of interior's Damrongtham Center, Inspection And Grivances Bureau, Office of the minister.” Its objectives are to study the following issues: 1) To study the effectiveness of complaints / grievances management through the online complaints / grievance system by considering the percentage of the number of complaints / grievances made through the online system that can be resolved. 2) To study the factors affecting the effectiveness of online complaints / grievances management through the online complaints / grievance system. 3) as a guideline for developing the online complaints / grievance system . which done as a quantitative research, which has defined research scope by studying the effectiveness of complaints / grievances management through the online complaints / grievance system based on the percentage of success in solving complaints / grievances through online channels. including factors affecting the use of the online complaints / grievance system according to the Computer-based information systems - CBIS, which consists of the following factors: 1) Hardware Resources 2) Software Resources 3) People Resources 4) Data Resources 5) Network Resources
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80261
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.450
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.450
Type: Independent Study
Appears in Collections:Pol - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6282002024.pdf5.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.