Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80289
Title: | การศึกษาการรับรู้มาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินระดับบุคคลของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป): กรณีศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Employee's perceived understanding of performance standard, performance evaluation criteria, and performance evaluation scope: a case study of general administration staffs at the Faculty of Arts, Chulalongkorn University |
Authors: | พิชชาพร สมมุติรัมย์ |
Advisors: | พิมพ์สิริ อรุณศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การรับรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินของผู้รับการประเมินที่ถูกต้องจะทำให้การทำงานมีความสอดคล้องกับเป้าหมายและเป็นไปตามความคาดหวังขององค์การ งานวิจัยชิ้นนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินระดับบุคคลของเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ในสังกัดคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่ามีความสอดคล้องกับเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้กำหนด รวมถึงการรับรู้ในเรื่องเดียวกันนี้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กลุ่มดังกล่าวหรือไม่อย่างไร รูปแบบของการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแล้วนำมาวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 4 กลุ่ม จำนวนทั้งสิ้น 15 คนประกอบด้วย ผู้บริหารภารกิจงานบุคคลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 คน ผู้บริหารภารกิจงานบุคคลระดับคณะฯ 1 คน ผู้บริหารที่ประเมินผลการปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) คณะอักษรศาสตร์ 3 คน และกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานตามสายปฏิบัติการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ผู้ได้รับการประเมินผลการปฏิบัติงาน 9 คน ข้อค้นพบในการศึกษาพบว่า การรับรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติงาน เกณฑ์ และขอบเขตการประเมินของเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ในภาพรวมค่อนข้างมีความสอดคล้องกันกับเอกสารประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานสายปฏิบัติการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามยังมีเจ้าหน้าที่บางคนยังไม่เข้าใจเรื่องขอบเขตการประเมินผลการปฏิบัติงานในการให้ความหมายและความเข้าใจของงานด้านยุทธศาสตร์ ส่วนการรับรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงาน (บริหารงานทั่วไป) ทุกท่านมีการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเดียวกันนี้สอดคล้องกับระเบียบของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Other Abstract: | An accurate perception of performance standard, evaluation criteria, and scope of work is compulsory for one’s ability to meet performance expectation at work. This qualitative research investigated the extent to which an administrative officer at Faculty of Arts, Chulalongkorn University correctly perceive performance standard, evaluation criteria, and scope of work regarding university’s regulation on performance evaluation for operating level officer, and whether or not their perceptions align with those of the stakeholders to their performance evaluation. A semi-structure interview revealed that the administrative officers’ perception of performance standard, evaluation criteria, and most scope of work align with university’s regulation on performance evaluation applies to all operating level officers and that all stakeholders aligned their perceptions with the regulations in all areas. However, about half of these officers showed poor understanding of the strategic scope of work. Based on the results, implications and directions of future research were also discussed. |
Description: | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
Degree Name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | รัฐประศาสนศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80289 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.456 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2021.456 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pol - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6282035724.pdf | 4.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.