Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80423
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อหน่วยการลงแรงประมงในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ระหว่างปี พ.ศ. 2549- พ.ศ. 2560
Other Titles: The study of environmental factors affecting to Catch per unit effort in the upper Gulf of Thailand during the year 2006 – 2017
Authors: วิธวินท์ พลลาภานันท์
Advisors: เจษฎ์ เกษตระทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: ประมง -- อ่าวไทย
การจัดการประมง
Fisheries -- Gulf of Thailand
Fishery management
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การจัดการทรัพยากรทางการประมงนั้นย่อมมีความสัมพันธ์ต่อปริมาณทรัพยากร และต้องมีความ ตระหนักถึงการบริหารจัดการระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่อ สายใยอาหารในแต่ละบริเวณ การจัดการประมงส่วนใหญ่มักจะพิจารณาเพียงค่าสัมประสิทธิการตายและผลผลิตที่จะได้จากสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย โดยมิได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย และสิ่งแวดล้อมต่างๆในบริเวณที่ทำการประมง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นถึงความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาณการจับสัตว์น้ำ ต่อหน่วยการลงแรงประมง ที่เป็นผลมาจากการแปรผันของปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดในมหาสมุทรและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในชั้นบรรยากาศ เช่น ปรากฏการณ์ เอลนีโญ (El Niño) ลานีญา (La Niña) และปรากฏการณ์ความแปรปรวนของการไหลเวียนของมวลอากาศและมวลน้ำในมหาสมุทรที่เกิดขึ้นในบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Decadal Oscillation) เป็นต้น งานวิจัยนี้เป็นการนำข้อมูลทุติยภูมิด้านการจับสัตว์น้ำ ของกรมประมงและ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมจากภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าปริมาณการจับสัตว์น้ำ ต่อหน่วยการลงแรงประมง โดยพบว่าปริมาณการจับสัตว์ น้ำ หน้าดินต่อหน่วยการลงแรงประมงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าปริมาณน้ำท่า และค่าปริมาณการจับปลา ผิวน้ำ ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าดัชนีของ Pacific Decadal Oscillation
Other Abstract: Fishery resource management is inevitably related to fishery resource volume and must have an awareness of ecosystem management, habitat, and the relationship of each organism to the food web in each area. Regardless of the environmental factors that may affect the target species and the environment in the fishing area, most fisheries management considers only fishery mortality rate and yield of the target species. In this research, I focused on the changes of catch per unit effort as a result of variations in environmental factors, which changes according to various phenomena that occur in the ocean and atmospheric phenomena such as the El Niño, La Niña and the variations in air and water mass flow in the ocean occur in the Pacific Ocean region (Pacific Decadal Oscillation) etc. In this research, secondary information on the catch the Department of Fisheries and environmental information were obtained from satellite imagery were analyzed for the relationship between each environmental factor and catch per unit effort. Demersal catch per unit effort was positively correlated with the river runoff and pelagic fish catch was also positively correlated with the index of Pacific Decadal Oscillation.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80423
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-MARINE-019 - withawin pollpanun.pdf29.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.