Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80470
Title: การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่งของธุรกิจนำเข้า-ส่งออกเคมีภัณฑ์
Other Titles: Reducing product shortage due to delayed shipment in Chemicals import-export business
Authors: อัคพงษ์ จักสอง
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การบริหารงานโลจิสติกส์
การควบคุมสินค้าคงคลัง
Business logistics
Inventory control
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเรื่อง การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่ง ของธุรกิจนำเข้า – ส่งออกเคมีภัณฑ์ เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1. ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าขององค์กร 2. ปรับปรุงจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-order Point : ROP) ให้มีประสิทธิภาพ 3. ลดต้นทุนในการจัดเก็บ และการสั่งซื้อสินค้า จากผลการศึกษาเรื่อง การลดปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้าในการขนส่ง ของธุรกิจนำเข้า – ส่งออกเคมีภัณฑ์ การใช้จุดสั่งซื้อใหม่แบบเดิมที่บริษัทใช้อยู่ทำให้สินค้าเกิดความขาดแคลน เนื่องจากเกิดการล่าช้าในการผลิตและขนส่ง อีกทั้งเวลานำ (Lead time) ในการขนส่งจากประเทศเนเทอร์แลนด์ 120 วันซึ่งถือว่ามีระยะเวลานาน และยังมีความไม่แน่นอน ดังนั้นผู้วิจัยได้นำเครื่องมือ มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร โดยการพยากรณ์ความต้องการ การกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ (Re-order Point : ROP) การกำหนดสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock) และการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อประหยัด (Economic Order Quantity) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสินค้าจากการล่าช้านการขนส่ง หรือ กรณีที่ฝ่ายขายมีการขายสินค้าเกินกว่า Demand ทำให้สินค้าเพียงพอต่อการขาย และผลจากการคำนวนพบว่า จากกรณีศึกษาสินค้าตัวอย่าง 5 รายการ มีผลให้ต้นทุนการสั่งซื้อและต้นทุนการเก็บรักษารวมลดลง 4,716,501.63 บาท หรือคิดเป็น 95%
Other Abstract: The study of “Reducing product shortage due to delayed shipment in chemicals import-export business” with objective 1. To reducing product shortage problem in company 2. Developing Re-order point to be efficiency 3. Reducing ordering cost and inventory cost. The study of “Reducing product shortage due to delayed shipment in chemicals import-export business” found that the cause of product shortage was the currency Re-order point since the production and transportation from supplier delayed including Leadtime 120 days from Netherlands quite long and uncertain. The researcher used forecasting method to increase operation efficiency with forecasting for Re-order point: ROP, Safety Stock: SS and Economic order quantity: EOQ to solve product shortage due to delayed shipment or in-case of Sales department were sell higher than Demand forecast. From case study, 5 products can save from ordering cost and inventory cost 4,716,501 Thai baht or 95%
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80470
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.228
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2021.228
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6380102720_Acapong Juk_IS_2564.pdfสารนิพนธ์ (ให้บริการเฉพาะบทคัดย่อ)4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.