Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80572
Title: The relationships between microbial communities and environmental factors in agricultural soils in Saraburi
Other Titles: การหาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมจุลินทรีย์และปัจจัยสิ่งแวดล้อมในดินเกษตรกรรมจังหวัดสระบุรี
Authors: Pimonpan Pakdee
Advisors: Pasicha Chaikaew
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Subjects: Soil microbiology
จุลชีววิทยาทางดิน
Issue Date: 2020
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: The diversity of soil microbial communities are the main factors in the biogeochemical cycles due to their ability to control underground activities, meanwhile the disturbed soils from agricultural practices often perturb microbial communities. This study aims to 1) investigate the microbial diversity in agricultural soils. 2) determine the relationships between the relative abundance of microbes and soil environmental factors such as pH, organic matter (OM) , electrical conductivity (EC), nitrogen (N) and available phosphorus (P) in the agricultural soil of Saraburi. Thirty soil samples at 15 cm depth were collected from agricultural soil in thirty sub-districts of Saraburi Province in August 2020. Three diversity indices indicated microbial diversity as follows: 1.77 for Shannon diversity index (H’), 0.74 for Simpson's diversity index, and 0.19 for Evenness index. Principal component analysis (PCA) was conducted to observed the relationship between Shannon's diversity index of microbial communities and soil properties. Shannon's diversity index correlated with available P in a positive direction and negative correlation with pH, EC and OM. Canonical correspondence analysis (CCA) determined the relationship between soil microbial communities and soil properties. The phyla Firmicutes (26.9%), Proteobacteria (16.9%), Bacteroidetes (16.8%), Acidobacteria (11.5%), and Actinobacteria (8.3%) were abundant in all soil samples. Firmicutes was a positive correlation with soil pH, OM, and EC, this phylum also shows the negative correlation between N and available P. Proteobacteria were positive correlation with both nutrients. Bacteroidetes was positive significant correlation with EC and OM. Acidobacteria indicating that a strong positive correlation with available P and negative correlation with OM. Actinobacteria was negatively correlated with soil pH. The findings indicated that soil properties influence on the microbial community. The distribution of microbial communities and relationships with environmental factors could help farmers for balancing fertilizer application of soil improvement.
Other Abstract: จุลินทรีย์ดินมีความสามารถในการควบคุมกิจกรรมในดินทั้งด้านโครงสร้างและวัฎจักรชีวเคมีในขณะเดียวกันโครงสร้างและส่วนประกอบของดินที่ถูกรบกวนจากการใช้งานทางการเกษตรสามารถส่งผลกระทบถึงสังคมจุลินทรีย์ได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินเกษตร 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมจุลินทรีย์และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ค่าความเป็นกรดด่าง ค่าการนำไฟฟ้าอินทรียวัตถุ ปริมาณไนโตรเจน และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินเกษตรจังหวัดสระบุรี โดยเก็บตัวอย่างดิน 30 ตัวอย่าง ที่ความลึก 15 ซม. จากดินเกษตรใน 30 ตำบลของจังหวัดสระบุรี เพื่อหาความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินเกษตรกรรม จากดัชนีความหลากหลาย 3 ดัชนี ได้แก่ ดัชนีความหลากหลายแชนนอน (Shannon, H’) ดัชนีความหลากหลายซิมป์สัน (Simpson’s) และดัชนีความสม่ำเสมอ (Evenness) ผลลัพธ์ที่ได้คือ 1.77, 0.74, 0.19 ตามลำดับ ผลจากการหาความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายของจุลินทรีย์และคุณสมบัติของดินด้วย Principal component analysis (PCA) พบว่าดัชนีความหลากหลาย (Shannon, H’) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าความเป็นกรดด่าง ค่าการนำไฟฟ้า และอินทรียวัตถุในดิน นอกจากนี้ยังได้มีการใช้ Canonical correspondence analysis (CCA) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมจุลินทรีย์กับคุณสมบัติของดิน โดยไฟลัมที่พบมากที่สุด 5 ไฟลัม ได้แก่ Firmicutes (26.9%), Proteobacteria (16.9%), Bacteroidetes (16.8%), Acidobacteria (11.5%) และ Actinobacteria (8.3%) โดยที่ไฟลัม Firmicutes มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าความเป็นกรดด่าง อินทรียวัตถุและค่าการนำไฟฟ้า ไฟลัมนี้ได้แสดงความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ไฟลัม Proteobacteria มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับธาตุอาหารทั้งสองประเภท ไฟลัม Bacteroidetes มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าการนำไฟฟ้า และอินทรียวัตถุ ไฟลัม Acidobacteria มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับฟอสฟอรัสที่มีอยู่ และมีความสัมพันธ์เชิงลบกับอินทรียวัตถุ และไฟลัม Actinobacteria แสดงความสัมพันธ์เชิงลบกับค่าความเป็นกรดด่างของดิน ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าคุณสมบัติของดินมีอิทธิพลต่อสังคมจุลินทรีย์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษานี้ช่วยให้มีความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้นเกี่ยวกับอิทธิพลของชุมชนจุลินทรีย์และปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อมในดิน และยังเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ สามารถช่วยให้เกษตรกรเลือกใช้ปุ๋ยในการปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อส่งผลต่อความหลากหลายของสังคมจุลินทรีย์ในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Description: In Partial Fulfillment for the Degree of Bachelor of Science Department of Environmental Science, Faculty of Science, Chulalongkorn University Academic Year 2020
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80572
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63-SP-ENVI-017 - Pimonpan Pakdee.pdf26.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.