Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80731
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัคร สภากาชาดไทย
Other Titles: Development of learning management model to promote work motivation of the Thai Red Cross volunteers
Authors: มารีษา ศรีสุภา
Advisors: ดวงกมล บางชวด
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: อาสาสมัครในงานบริการสังคม
การเรียนรู้
Volunteer workers in social service
Learning
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจต่อการเข้าสู่กระบวนการอาสาสมัคร 2) ศึกษาแรงจูงใจต่อการปฏิบัติงานอาสาสมัครอย่างต่อเนื่อง และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัคร โดยใช้การรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัคร สภากาชาดไทย จำนวน 223 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นอาสาสมัคร สภากาชาดไทยจำนวน 4 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ฝึกอบรมอาสาสมัคร จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานอาสาสมัครจากสภากาชาดไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยและการจัดการศึกษาเพื่อผู้ใหญ่ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการเข้าสู่กระบวนการอาสาสมัครด้านการแสดงออกถึงค่านิยมของตนเอง มีระดับสูงที่สุด (M=4.67) รองลงมาได้แก่ ด้านการเพิ่มคุณค่าและยกระดับจิตใจ (M=3.94) ด้านความต้องการใช้ความรู้ที่มีอยู่ (M=3.86) ด้านความสัมพันธ์หรือการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (M=3.62) และด้านการปกป้องตนเองจากความรู้สึกด้านลบ (M=2.80) ตามลำดับ ส่วนแรงจูงใจด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ด้านประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน (M=2.46) 2) จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องพบว่า 2.1) การส่งเสริมการพัฒนาตนเองโดยการสนับสนุนให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 2.2) ลักษณะของงานที่ทำตรงกับความรู้ความสามารถ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จึงนำไปสู่การสำรวจความต้องการของอาสาสมัครที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า สภาพที่เป็นจริงของความต้องการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอาสาสมัครโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=3.40) โดยเรียงอันดับคาเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (M=3.77) ด้านการประเมินผล (M=3.48) ด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ (M=3.41) และด้านการมีส่วนร่วม (M=2.94) ตามลำดับ สภาพที่คาดหวังของความต้องการในการจัดรูปแบบการเรียนรู้ฯ โดยรวมอยู่ในระดับสูง (M=3.84) โดยเรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (M=4.10) ด้านการประเมินผล (M=3.89) ด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ (M=3.88) และด้านการมีส่วนร่วม (M=3.51) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาความต้องการจำเป็นของอาสาสมัครที่มีต่อการจัดรูปแบบการเรียนรู้ พบว่า อาสาสมัครมีความต้องการด้านการมีส่วนร่วมเป็นลำดับที่ 1 โดยมีค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified= 0.19) รองลงมาคือด้านเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าความต้องการจำเป็น (PNIModified = 0.14) ด้านการประเมินผล (PNIModified = 0.11) และลำดับสุดท้ายด้านสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ (PNIModified = 0.08) 3) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดและหลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ และการวัดประเมินผล ซึ่งขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นการเตรียมการ ขั้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และลงมือทำ ขั้นการสะท้อนคิด ขั้นการบูรณาการ และขั้นการนำไปใช้
Other Abstract: This study aims to 1) investigate the motivations of volunteers for participation in volunteerism, 2) determine factors contributing to continued participation in volunteering activities, and 3) explore the types of learning that motivates volunteering. A quantitative research and qualitative research used in this study, including the following: the survey research, the population ant the simple were 223 volunteers of The Thai Red Cross; semi-structured interview, the key informants were 4 volunteers of The Thai Red Cross and 2 training officers; focus group discussion of 5 specialists in educational management and adult education management. The study found that 1) Volunteering programs that reflected personal values were ranked the highest as the motivation for participation in volunteerism next was enhancement function, understanding function, social function, protective function respectively, and career function were ranked the lowest as the motivation for participation in volunteerism 2) Related papers suggested that 2.1) promotion of self-development through training on relevant knowledge and skills, as well as activities that match the volunteers’ competency help keep volunteers motivated, the learning management model to promote motivation in working found that the actual competencies of the need for a learning model to promote motivation for volunteer performance overall was moderate, the average ranking from highest to lowest are: learning environment, evaluation aspect, content and learning activities, and participation aspect respectively; the desirable states of the need for a learning model to promote motivation for volunteer performance overall at the high level (M=3.84), the average ranking from highest to lowest was the learning environment, evaluation aspect, content and learning activities, and participation aspect respectively; when considering the priority needs of the volunteers towards the learning model, it was found that participation aspect got the highest score the second was content and learning activities, evaluation aspect and lastly, the learning environment 3) the learning management model consists of 4 components: concepts and principles of the model, objectives, and process of learning management. and evaluation; the process of learning management consists of 5 steps: preparation stage, the process of exchanging experiences and taking action, reflection stage Integration stage, and steps to use
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80731
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.770
DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.770
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Edu_Mareesa Srisu_The_2564.pdf95.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.