Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80745
Title: การพัฒนาระบบร่วมถังกรองไร้อากาศ-เครื่องควบแน่นและถังกรองสารซีโอไลท์-ถ่านกัมมันต์แบบเกล็ด สำหรับการนำน้ำเสียจากอาคารสำนักงานกลับมาใช้ใหม่       
Other Titles: Development of the combined system of anaerobic filter-condenser and Ze-GAC filter for office building’s wastewater recycling
Authors: เจริญ บัวเทศ
Advisors: ชวลิต รัตนธรรมสกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาถังปฏิกรณ์ชีวภาพในการนำน้ำเสียและความร้อนทิ้งจากอาคารสำนักงานกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้ผลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการมาพัฒนาถังกรองไร้อากาศให้ทำงานร่วมกับความร้อนทิ้งจากเครื่องปรับอากาศ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอน คือการศึกษาในระดับห้องปฏิบัติการ และการใช้งานในระดับต้นแบบ จากผลการทดลองในระดับห้องปฏิบัติการ พบว่าถังกรองไร้อากาศขนาด 5.40 ลิตร ที่ระยะเวลากักพักน้ำ 27 ชั่วโมง อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอย สารอินทรีย์ในรูปซีโอดี เจดาล์ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวมสูงสุดต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำสุด และพบแบคทีเรียที่ช่วยในการบำบัดน้ำเสียสายพันธุ์ Flavobacterium sp. และอาร์เคียสายพันธุ์ Methanosaeta sp. นำข้อมูลจากห้องปฏิบัติการ มาใช้ออกแบบและสร้างถังกรองไร้อากาศขนาด 540 ลิตร และถังกรองสารซีโอไลท์-ถ่านกัมมันต์แบบเกล็ดขนาด 32.40 ลิตร เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนขนาดพื้นที่ผิว 0.36 ตารางเมตร โดยใช้เครื่องปรับอากาศขนาด 19,302 บีทียู/ชั่วโมงกำลังไฟฟ้า 1,580 วัตต์ สารทำความเย็นชนิดคลอโรไดฟลูออโรมีเทน (R-22) และบายพาสวาวล์มาประกอบเข้าด้วยกันเป็นเครื่องต้นแบบระบบร่วมถังกรองไร้อากาศ-เครื่องควบแน่นและถังกรองสารซีโอไลท์-ถ่านกัมมันต์แบบเกล็ด ผลการทดลอง พบว่าเครื่องต้นแบบระบบร่วมถังกรองไร้อากาศ-เครื่องควบแน่นและถังกรองสารซีโอไลท์-ถ่านกัมมันแบบเกล็ด ที่ระยะเวลากักพักน้ำ 27 ชั่วโมง น้ำเสียภายในถังกรองไร้อากาศมีอุณหภูมิเฉลี่ยเท่ากับ 35.40±1.81 องศาเซลเซียส สามารถนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ได้ 2.82 กิโลวัตต์ชั่วโมง/วัน เครื่องปรับอากาศมีค่าสัมประสิทธิ์เชิงสมรรถนะโดยรวมเฉลี่ย 4.65 ซึ่งมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.25 ทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าลดลงเฉลี่ย 2.65 กิโลวัตต์ชั่วโมง/วัน คิดเป็นร้อยละ 22.96 สามารถนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ได้ 180 ลิตร/วัน โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดสารอินทรีย์ในรูปซีโอดี เจดาห์ลไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวม โคลิฟอร์มรวมและฟีคัลโคลิฟอร์ม ร้อยละ 69.11 29.98 19.28 42.75 และ 21.83 ตามลำดับ และประสิทธิภาพการกำจัดของแข็งแขวนลอยและสี ร้อยละ 66.69 และ 50.87 ตามลำดับ
Other Abstract: This research aims to develop a bioreactor for wastewater recycling and waste heat recovery from office buildings. The experiments on anaerobic filter (AF) with the waste heat recovery from air conditioner as a combined system was divided into 2 phases: laboratory-scale and pilot-scale experiments. The highest performance with the lowest energy consumption was obtained from the laboratory-scale AF with HRT of 27 hours and 35ºC. The system favored the growth of Flavobacterium sp. and Methanosaeta sp., that assisted in the treatment processes. In pilot-scale, the results from the laboratory-scale was used in designing pilot-scale AF with the size of 540 liters.  The pilot-scale of 32.40 liters and a heat exchanger (condenser 1) with the surface area of 0.36 m2. The anaerobic filter-condenser (ANCO) system, combined with Ze-GAC filter system. The air conditioner had capacity of 19,302 BTU/hr. with electrical power input of 1,580 W. The refrigerant was Chlorodifluoromethane (R-22). The results from the prototype could yield wastewater recycling of 180 L/day and waste heat recovery about 2.82 kWh/day. The effluent had average temperature of 35.41±1.81 ºC. The coefficient of performance of the air condition was 4.60, which was increased by 30.25% and could save electrical energy up to 2.65 kWh/day (or 22.96% saving). The performance of ANCO and Ze-GAC pilot-scale prototype achieved high removal efficiencies in terms of chemical oxygen demand, total kjeldahl nitrogen, total phosphorus, total coliforms and fecal coliforms about 69.11% 29.98% 19.28%, 42.45% and 21.83%, respectively. For suspended solid and color removal by the pilot-scale system, they were 66.69% and 50.87%, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80745
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.854
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.854
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487761020.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.