Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8080
Title: การศึกษาการลดลงของระดับบิลิรูบินในผู้ป่วยโรคตับที่มีภาวะบิลิรูบินคั่งในกระแสเลือดด้วยการฟอกเลือดวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมิน
Other Titles: Study of bilirubin reduction ratio by single-pass albumin dialysis (SPAD) in liver disease
Authors: อุษณีย์ บุญศรีรัตน์
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
น๊อต เตชะวัฒนวรรณา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: somchai@nephrochula.com, somchai80754@yahoo.com, EiamOng@netscape.net
north@nephrochula.com, northtecha@yahoo.com
Subjects: ตับ -- โรค
ตับ -- การปลูกถ่าย
การฟอกเลือด
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ตับวายฉับพลัน (acute liver cell failure) เป็นสาเหตุการเกิดภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคตับโดยพบว่าถ้าผู้ป่วยตับวายฉับพลันไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับ (liver transplant) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงและ ถ้ามีภาวะไตวายร่วมด้วย (hepato-renal syndrome) อัตราการเสียชีวิตจะสูงถึงร้อยละ 95 ปัจจุบันการปลูกถ่ายตับเป็นการรักษามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับสำหรับผู้ป่วยตับวายฉับพลันรุนแรงแต่ต้องอาศัยการรับบริจาคอวัยวะ บุคลากรตลอดจนเครื่องมือที่มีความจำเพาะ ทำให้การปลูกถ่ายตับไม่แพร่หลาย ระบบทดแทนตับถือเป็นการรักษาประคับประคองในผู้ป่วยตับวายและพบว่าช่วยลดอัตราตายเมื่อเปรียบเทียบกับการรรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียว ระบบทดแทนตับที่นิยมในปัจจุบันคือ MARS ซึ่งในประเทศไทยยังคงเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงรวมทั้งต้องอาศัยบุคลากรและเครื่องมือจำเพาะ นำไปสู่การนำการฟอกเลือดด้วยวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมินซึ่งใช้การฟอกเลือดแบบ CWHD ร่วมกับน้ำยาอัลบูมิน dialysate อันเป็นระบบที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยวิกฤตที่มีไตวายฉับพลันมาใช้เป็นระบบทดแทนตับเพื่อขจัดสารพิษที่เกิดจากภาวะตับวายได้ ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคตับที่มีภาวะบิลิรูบินในกระแสเลือดมากกว่า 20 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร 12 ราย โดยผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมินจำนวน 1-5 ครั้งเป็นเวลานานครั้งละ 6 ชั่วโมง วัดระดับบิลิรูบินรวมบิลิรูบิน conjugated แอมโมเนีย ยูเรีย และครีเอตินีนก่อนและหลังการฟอกเลือดวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมินที่ 2 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า การฟอกเลือดวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมินสามารถลดระดับบิลิรูบินรวม บิลิรูบิน conjugated ยูเรียและครีเอตินีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมีร้อยละการลดลงของระดับบิลิรูบินรวม 22.9+-3.8 ร้อยละการลดลงของระดับบิลิรูบิน conjugated 20.9+-5 ร้อยละการลดลงของยูเรีย 19+-4.1 และครีเอตินีน 27.7+-13.1 ไม่พบความแตกต่างของระดับแอมโมเนีย ความดันโลหิตเฉลี่ยก่อนและหลังการฟอกเลือดด้วยซิงเกิลพาสอัลบูมินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเลือดด้วยวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมิน พบอัตราการรอดชีวิตในโรงพยาบาลที่ 15 ร้อยละ 16.7 กล่าวโดยสรุป การฟอกเลือดวิธีซิงเกิลพาสอัลบูมินเป็นระบบทดแทนตับที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการลดระดับบิลิรูบินในเลือด สามารถนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะตับวายและไม่สามารถใช้ระบบทดแทนตับวิธีอื่นได้
Other Abstract: Background: Liver failure resulting from different causes and its concomitant complication represent difficult-to-treat conditions with high mortality rates, despite improved therapeutic modalities in intensive care medicine. The accumulation of albumin-bound metabolities that are normally cleared by the liver, such as bilirubin and ammonia, contributes substantially to the development of multiorgan dysfunction in these clinical situations. Liver transplantation is a goal standard treatment but organ sharing and high-urgency status like patients with acute or acute on-top chronic liver failure are still major problems. Artificial support system reduce mortality in liver failure compared with standard medical therapy thus could be used for bridging or supportive therapy. Methods: 12 patients with liver disease and accompanying hyperbilirubinemia (total bilirubin > 20 mg/dL) were treated with Single-pass albumin dialysis on 1-5 consecutive days for 6 hr. Serum total bilirubin, conjugated bilirubin, urea and creatinine were measured before and 2 hr. after treatment. Results: Single-pass albumin dialysis treatment significantly improved levels of total bilirubin, conjugated bilirubin, urea and creatinine (p<0.05 for all parameters). Reduction ratio of total bilirubin was 22.9+-3.8%, conjugated bilirubin was 20.9+-5%, urea was 19+-4.1% and creatinine was 27.7+-13.1%. No significant difference between serum ammonia before and after treatment (p=0.32). No significant change in mean arterial pressure during treatment. No treatment related complications was found. The 15-day in hospital survival was 16.7%. Conclusion: Single-pass albumin dialysis is a safe supportive therapy for patients with liver failure. A significant improvement of the biochemical milieu was observed already after treatment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8080
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1565
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1565
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ussanee.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.