Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80875
Title: การผลิตและการใช้มัลติเอนไซม์เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกบนเส้นใยสับปะรด
Other Titles: Production and application of multi-enzyme for pineapple fiber scouring
Authors: พิชญาภา นิรมล
Advisors: อุษา แสงวัฒนาโรจน์
ธิดารัตน์ นิ่มเชื้อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้แสดงการศึกษาการผลิตมัลติเอนไซม์ที่ประกอบด้วยเพกติเนส เซลลูเลสและ ไซแลนเนสจากเชื้อรากลุ่ม Aspergillus sp. สำหรับใช้กำจัดสิ่งสกปรกบนเส้นด้ายใยสับปะรด โดยทดลองหาสูตรอาหารและภาวะที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงเชื้อราที่ใช้ผลิตมัลติเอนไซม์ให้มีแอกทิวิตีสูงและวิเคราะห์อุณหภูมิและพีเอชที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานมัลติเอนไซม์ จากนั้นหาภาวะที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยมัลติเอนไซม์และการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ แล้วศึกษาสมบัติของเส้นด้ายหลังการกำจัดสิ่งสกปรกจากทั้งสองกระบวนการเปรียบเทียบกัน จากผลการทดลองพบว่า สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อและภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตมัลติเอนไซม์ที่มีแอกทิวิตีสูงคือ อาหาร เลี้ยงเชื้อที่มีองค์ประกอบหลักของรำข้าวสาลี เพปโตนและยีสต์สกัด ในภาวะการหมักแบบอาหารเหลว (Submerged fermentation, SmF) ที่อุณหภูมิ 30ºC เป็นเวลา 7 วัน โดยมัลติเอนไซม์มีภาวะที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานคือ ที่พีเอช 4 และอุณหภูมิ 50ºC สำหรับกระบวนการที่เหมาะสมในการกำจัดสิ่งสกปรกบนเส้นด้ายใยสับปะรดด้วยมัลติเอนไซม์คือ ใช้มัลติเอนไซม์ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) ที่พีเอช 4 อุณหภูมิ 50ºC เป็นเวลา 60 นาที และกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์คือ ใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ความเข้มข้น 0.2 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตร) ที่อุณหภูมิ 100ºC เป็นเวลา 60 นาที การทดสอบสมบัติของเส้นด้ายหลังการกำจัดสิ่งสกปรกพบว่า เส้นด้ายที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยมัลติเอนไซม์และเส้นด้ายที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่างมีสมบัติใกล้เคียงกันกล่าวคือ สิ่งเจือปนบนเส้นด้ายถูกกำจัดออกไปมากพอที่ทำให้เส้นด้ายดูดซึมน้ำได้ทันทีอย่างสม่ำเสมอ และหลังนำเส้นด้ายไปย้อมสีพบว่า เส้นด้ายที่ผ่านการกำจัดสิ่งสกปรกทั้งสองวิธีมีสีเข้มและเฉดสีใกล้เคียงกัน นอกจากนี้พบว่า การกำจัดสิ่งสกปรกด้วยมัลติเอนไซม์สามารถลดความเหลืองของเส้นด้ายลง (ขาวมากขึ้น) ได้มากกว่าการกำจัดสิ่งสกปรกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ อีกทั้งเส้นด้ายที่ผ่านการกำจัด สิ่งสกปรกด้วยมัลติเอนไซม์จะมีการสูญเสียน้ำหนักมากกว่าประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ แต่มีค่าความเหนียวและการยืดตัวที่จุดขาดสูงกว่าประมาณ 33 และ 18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ  
Other Abstract: This research aimed to produce a multi-enzyme consisting of pectinase, cellulase, and xylanase from Aspergillus sp. and to use it for impurity removal from raw pineapple yarn in the process of scouring. In terms of enzyme production, various culture media formulations and culture conditions were investigated. The formulation and condition that could deliver high activities of pectinase and xylanase as well as low activity of cellulase were selected. In addition, optimal pH and temperature for enzyme activity were also identified for further uses in scouring process. Then, a suitable multi-enzyme was used to scour raw pineapple yarn at various enzyme concentrations and scouring times. Raw yarn was also scoured in NaOH solution at various concentrations and times for a comparison. Experimental results from the enzyme production in this research indicated that the appropriate culture medium for Aspergillus sp. was composed of wheat brand, peptone, and yeast extract, and the best culture condition was at 30ºC for 7 days in a submerged fermentation. At optimal pH of 4 and temperature of 50ºC for enzyme activity, the produced multi-enzyme showed pectinase activity of 504.18 U/ml, cellulase activity of 182.82 U/ml, and xylanase activity of 281.59 U/ml. Based on the results of enzymatic scouring and chemical scouring of pineapple yarn, it was found that the appropriate enzymatic scouring condition was to scour at pH 4, 50ºC for 60 minutes using 20% (w/v) of crude multi-enzyme, 4 g/l of wetting agent, and a yarn to liquor ratio of 1:50, and the best NaOH scouring condition was at 100ºC for 60 minutes using 0.2% (w/v) of NaOH, 4 g/l of wetting agent, and a yarn to liquor ratio of 1:25. Both processes provided successful scouring outcomes. All scoured yarns showed adequate water absorbency and similar dyeability. However, it was found that enzymatic scoured yarn showed less yellowness and higher tenacity than the NaOH scoured yarn and raw yarn.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80875
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.833
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.833
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5772077223.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.