Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80948
Title: การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล
Other Titles: Development of social and emotional learning program based on safer and cooperative learning approaches to enhance social competence of kindergarteners
Authors: รังสิรัศม์ วงศ์อุปราช
Advisors: ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
ชาริณี ตรีวรัญญู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมตามแนวคิดเซเฟอร์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 2) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ที่มีต่อความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล ตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมการ ขั้นที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับตั้งต้น) ขั้นที่ 3 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับนำร่อง) ขั้นที่ 4 การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ (ฉบับทดลอง) และขั้นที่ 5 การนำเสนอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาล ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และค่าขนาดอิทธิพล ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 ซึ่งถูกออกแบบมาให้มีความเป็นระบบ จัดสาระและทักษะให้เด็กเรียนรู้อย่างเป็นลำดับจากเรื่องใกล้ตัวไปสู่ไกลตัว และจากทักษะง่ายไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนขึ้น ผ่านการทำกิจกรรมกลุ่มแบบคละความสามารถตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ควบคู่ไปกับการสะท้อนการเรียนรู้และได้รับข้อมูลย้อนกลับ โปรแกรมนี้มีลักษณะเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดในช่วงหลังเลิกเรียน 12 สัปดาห์ ๆ ละ 4 วัน ๆ ละ 30 - 45 นาที มีองค์ประกอบ 7 ข้อ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ระยะเวลา บริบท สาระ ขั้นตอน และการประเมินผล ประกอบด้วย สาระ 5 เรื่อง ได้แก่ การตระหนักรู้ตนเอง การจัดการตนเอง การตระหนักรู้สังคม ทักษะสัมพันธภาพ และการตัดสินใจอย่างรับผิดชอบ และมีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมพร้อมเรียนรู้ การร่วมมือเรียนรู้ และการสรุปการเรียนรู้ 2) หลังการใช้โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ ค่าเฉลี่ยของความถี่พฤติกรรมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลในภาพรวมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าขนาดอิทธิพลในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น พบว่า ค่าเฉลี่ยของความถี่ของพฤติกรรมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าขนาดอิทธิพล เท่ากับ 2.01 แสดงว่า โปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมฯ มีประสิทธิภาพสูงในการส่งเสริมความสามารถทางสังคมของเด็กอนุบาลทั้งภาพรวมและรายด้าน นอกจากนี้ พบว่า โปรแกรมฯ ช่วยส่งเสริมทักษะการสื่อสารและการกล้าแสดงออก ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสร้างสัมพันธภาพและการเจรจาต่อรองในการเล่นหรือทำงานร่วมกันของเด็ก ส่งผลให้ความสามารถทางสังคมในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นสูงขึ้นมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
Other Abstract: The purpose of this research were to 1) develop a Social and Emotional Learning (SEL) program based on SAFER and cooperative learning approaches, and 2) study the results of the SEL program affecting the social competence of kindergarteners. The samples were 12 kindergarteners studying in K3 of school under the Office of the Basic Education Commission, service area office 1, Chonburi province. This research conducted by the research and development design comprised five stages: (1) a preparation, (2) a SEL program development (original draft), (3) a SEL program development (the pilot studying revision), (4) a SEL program development (the implementation revision), and (5) a presentation. The research instrument was a kindergarten social competence inventory, consisted of two aspects, which were interpersonal relations, and working with others. Data were analyzed by using mean, standard deviation, t-test, and effect size. The results were as followed: 1) The developed SEL program aimed for enhancing social competence of third-level kindergarten. The develop process was systematical design which arranging strands and skills for children to learn orderly from closest to farthest situations and from basic to complex skills, using sequential learning via mixed-ability grouping with assigned activities, reflection, and feedback. The program considered as an enrichment program, consisted of 30 - 45 minutes a day, 4 days a week, for 12 weeks, composed of seven components, namely principles, purposes, durations, contexts, strands, processes, and evaluations, contained five main themes, that is, self-awareness, self-management, social awareness, relationship skills, and responsible decision-making, which composed of three steps, which are Check-in, Co-learning, and Conclusion. 2) After implementing the SEL program, kindergarteners showed a higher frequency averaging of social competence for overall with a statistical significance at .01 level and produced high effect size. When considering each aspect, namely interpersonal relations and working with others, it was found that kindergartens gained higher frequency averaging than those of before the implementation with .01 level of statistical significance and high effect size at 2.01. It means that the SEL program demonstrated high effectiveness in terms of enhancing both the overall and aspects of social competence of kindergarteners. Moreover, this SEL program raised both communication skills and confidence, which were the conditions of relationship building and negotiating during free play and group work. Thus, the aspect of working with others gained a higher frequency averaging when compared with interpersonal relations.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80948
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.566
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.566
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5984220827.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.