Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80955
Title: การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of storytelling with creative drama activity package to enhance relationship skills of primary school students
Authors: ภิชา ใบโพธิ์
Advisors: ชาริณี ตรีวรัญญู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี จำนวน 13 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพโดยใช้ศูนย์การประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 8 กิจกรรม ที่ใช้การเล่านิทานด้วยเทคนิคการเล่านิทานรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวและสามารถเชื่อมโยงมุมมองของนักเรียนกับมุมมองของตัวละคร ประกอบกับการใช้กระบวนการของละครสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน มุ่งเน้นให้มีการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ท่าทาง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านการแสดงละครจากเรื่องราวของนิทานที่ได้รับฟัง โดยชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นนี้มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) แนวคิดและลักษณะสำคัญของชุดกิจกรรม 2) วัตถุประสงค์ของชุดกิจกรรม 3) กิจกรรมในชุดกิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม โดยมีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันกับเพื่อน โดยลำดับกิจกรรมจากระดับความยากง่ายและความซับซ้อนของเนื้อหานิทาน จากคุณลักษณะหรือทักษะที่ใกล้ตัว ไม่ซับซ้อน และมีความเป็นรูปธรรม ไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนและยากขึ้นตามลำดับ รวมถึงเริ่มจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล ไปสู่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่ม 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ในแต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการจูงใจก่อนเล่า (2) ขั้นการเล่าเรื่องเพื่อเชื่อมโยง (3) ขั้นการเตรียมความพร้อมก่อนแสดงละคร (4) ขั้นการแสดงละครจากเรื่อง (5) ขั้นการสรุปและสะท้อนคิด 5) แนวทางการใช้ชุดกิจกรรม และ 6) แนวทางการประเมินผล 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ปรากฏว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบของทักษะการสร้างสัมพันธภาพ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นองค์ประกอบด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this Research and Development were to 1) develop the storytelling with creative drama activity package to enhance relationship skills of primary school students and 2) study the result of using the activity package. The participants were 13 of 2nd grade students who study in school under the Office of the Private Education Commission, Lopburi. Participants were selected through a purposive sampling method. The research tool were the Relationship Skills Assessment and the Relationship Skills Assessment Center. The data was analyzed by using mean, standard deviation and Wilcoxon Sign rank-test. The research findings were as follows: 1. The activity package includes 8 activities focus on using storytelling techniques to make students understand the story to connect the idea and the point of view between themselves and the characters, and using the process of creative drama for students to make an interaction with friends by expression, feeling, gesture and working with other in drama playing from the story that they have listened. In this activity package have the key elements including 1) Concept and main feature of the activity package 2) The objective of the activity package 3) The activity in the package consisted 8 activities that bring students to learn about interaction and working together with friends, the activities were sorted by the level of difficulty and complexity of the story content, from close, uncomplicated and concrete attributes or skills to more complex and difficult skills respectively. Including starting from the interpersonal interaction between person and person to the interaction between individual and group interaction. 4) The activity process, each activity has 5 steps process including (1) Motivation before telling a story (2) Storytelling to connect (3) Pre-Drama (4) Drama playing and (5) Concluding and Reflecting. 5) Guideline for using the activity package and 6) Evaluation’s guideline. 2. Students’ overall mean of the post-test scores on the relationship skills after using the activity package was statistically significantly higher than pre-test at the .05 level of significance and when considered separately by the components of relationship skills, it was found that all of them were higher mean at the .05 level of significance, except the components of teamwork that was higher mean but not significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80955
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1114
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1114
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183365527.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.