Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80974
Title: การบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติในอุตสาหกรรมสื่อไทย
Other Titles: Managing international television drama in Thai media industry
Authors: ชวนา สุทธินราธร
Advisors: ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทความวิจัยชิ้นนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษากลยุทธ์และการบริหารจัดการธุรกิจละครข้ามชาติขององค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทย รวมถึงอุปสรรคและแนวโน้มในอนาคตของธุรกิจดังกล่าวในอุตสาหกรรมสื่อไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารจากองค์กรสื่อที่ดำเนินธุรกิจละครข้ามชาติ 6 ราย และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อข้ามชาติ 2 ราย ผลการศึกษาพบว่า องค์กรผู้ให้บริการเนื้อหาในประเทศไทยไม่ว่ารายใหญ่หรือรายย่อยต่างให้ความสำคัญกับตลาดผู้ชมต่างประเทศ เป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเป็นไปเพื่อแสวงหารายได้และฐานผู้ชมที่ใหญ่ขึ้น โอกาสทางธุรกิจและการต่อยอดความสำเร็จ รวมถึงเสริมสร้างอำนาจอ่อนให้แก่ประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง เทคโนโลยี วัฒนธรรมและกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลก เป็น 4 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์อุตสาหกรรมสื่อไทยในภาพรวมมีจุดเด่นอยู่ที่บุคลากรที่มีความสามารถและเทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการยอมรับ รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีทั้งการซื้อขายลิขสิทธิ์ละคร การผลิตร่วมและการรับจ้างผลิต ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นสอดคล้องไปกับเป้าประสงค์ คือ องค์กรมีการเติบโตในแง่ของรายได้และฐานผู้ชม อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากตลาดเนื้อหาสากล ทว่าก็ยังมีอุปสรรคจากระบบเซนเซอร์ของประเทศจีนที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การสนับสนุนจากภาครัฐที่ไม่ต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ข้อจำกัดทางงบประมาณและรสนิยมที่แย้งกันระหว่างผู้ชมภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ ธุรกิจละครข้ามชาติเป็นธุรกิจที่มีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เนื่องจากขึ้นอยู่กับหลากหลายตัวแปร เมื่อประกอบกับการขาดการผลักดันที่เป็นรูปธรรมจากภาครัฐ จึงทำให้การเติบโตขององค์กรสื่อไทยในธุรกิจนี้ไม่แข็งแรงนัก
Other Abstract: This research article aimed to study strategies and business management of the international television drama providers in Thailand together with obstacles to and prospect of the media business growth in the Thai media industry. In terms of research method, this is qualitative research conducted by a combination of documentary research and in-depth interviews with six management executives from international television drama companies and two international media experts. The study showed that the content providers in Thailand, regardless of business size, gave importance to foreign market. Their business objectives included revenue increase and target audience expansion, broadening business opportunities and successes, and building the country's soft power. Politics, technology, culture, and global change were the four major factors that influenced the strategy formulation. Overall, the media industry in Thailand had the advantage of competent working people and acclaimed production technology. The business operations involved buying and selling of copyright in dramatic works, co-production, and production service. The business achievements corresponded to the objectives, namely, the companies were successful in respect of revenue increase and customer base expansion and received recognition from the international market. However, there was some hindrance to the growth such as the changing policy of censorship in China, the inconsistent and obscure support from the government sectors, the budget limit, and the conflicting values between the domestic audience and the foreign audience. All in all, the international television drama business had to face constant alteration depending on various factors and a lack of concrete proof of support from the government, which resulted in sluggish growth of such business in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80974
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.663
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.663
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280005628.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.