Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81033
Title: หลักความเสมอภาคกับการคุ้มครองสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกในบริบทกฎหมายไทย
Other Titles: The principle of equality with protecting the right to cohabitation of alternative-sex people in Thai law
Authors: ฉัตรชัย เอมราช
Advisors: ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้หลักความเสมอภาคเพื่อคุ้มครองสิทธิการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกควรเป็นไปในแนวทางที่ยอมรับว่าบุคคลเพศทางเลือกมีศักดิ์ศรีและควรได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกับบุคคลทั่วไปในสังคม โดยการใช้และตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมายกับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกในกรณีที่เพศของบุคคลมิได้สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น ผู้มีอำนาจใช้และตีความกฎหมายย่อมสามารถนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวมาใช้กับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกได้โดยตรง เว้นแต่ในกรณีของบทบัญญัติเงื่อนไขด้านเพศของคู่สมรสและข้อสันนิษฐานความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายประสงค์ให้ถือเอาเพศของบุคคลเป็นสาระสำคัญ ขณะที่การกำหนดบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกขึ้นเป็นการเฉพาะควรเป็นไปในลักษณะที่ครอบคลุมถึงเพศของบุคคลโดยมิได้ยึดโยงอยู่กับสรีระร่างกายเพียงอย่างเดียว ภายใต้ข้อพิจารณาสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของกฎหมายกับรูปแบบการใช้ชีวิตร่วมกันของบุคคลเพศทางเลือกและความสอดคล้องกับความหลากหลายทางเพศในสังคมที่มิได้จำกัดเพียงบุคคลเพศทางเลือกเท่านั้น  
Other Abstract: Applying the principle of equality in order to protect the right to cohabitation of alternative-sex people should be in the direction of recognizing that alternative-sex people have dignity and should be protected by law equal with other people in society. Enforcing and interpreting the provisions of the law on the cohabitation of alternative-sex people in the case that sex is not related to the purpose of the law. Those who have the duty to enforce and interpret the law can directly apply the provisions of the said law to the cohabitation of alternative-sex people. Except in the case of the provisions of the spouse's sex and the presumption of legitimacy, which are intended by law that sex of the person as the subject matter. Whilst the specific provision of the constitution and laws relating to the cohabitation of alternative-sex people should be in such a way as to include the gender of the individual without relying solely on physique. Under two important considerations that the consistency between the objective of the law and the lifestyle of alternative-sex people and the consistency with the diversity of gender in society that not limited to alternative-sex people only.  
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81033
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.688
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.688
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986551934.pdf4.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.